Skip to main content

เอกสาร 28 กุมภาฯ กับเหตุผลที่ “บีอาร์เอ็น” ต้องปรับ

รอมฎอน ปันจอร์

ย้อนกลับไป 4 ปีที่แล้ว วันๆ นี้ (28 กุมภาพันธ์) เป็นวันสำคัญที่เป็นหมุดหมายสำคัญของความขัดแย้งในชายแดนใต้/ปาตานี เพราะเมื่อตัวแทนของรัฐบาลไทย (เลขาธิการ สมช. สมัยนั้น) กับตัวแทนของบีอาร์เอ็นลงนามในเอกสารชิ้นเล็กๆ ขนาดความยาวเพียงสองสามย่อหน้าว่าจะเดินหน้าการพูดคุยสันติภาพ ลายเซ็นของสองคนนั่นและตราประทับหน่วยงานปรากฎขึ้นพร้อมๆ กัน มีการลงนามกำกับโดยเลขาธิการ สมช.มาเลเซียในฐานะประจักษ์พยาน

เรื่องแบบนี้ไม่เคยปรากฎมาก่อน อาจจะมีการพูดคุยสันติภาพอยู่บ้างในทางลับก่อนหน้านี้ แต่แบบแผนของสิ่งที่เกิดขึ้นและที่ตามมาตลอด 4 ปีมานี้ก็แตกต่างอย่างสำคัญ

ฟังคนพื้นที่วิเคราะห์ ‘ปัจจัยหลัก’ เหตุป่วนใต้กว่า 10 จุด หวังดีสเครดิตรัฐบาล

จากเหตุการณ์ความไม่สงบครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้ (2 พ.ย.59) ที่ผ่านมากว่า 10 จุด หลังจากคณะคปต. ส่วนหน้าลงพื้นที่พูดคุย สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้สั่นคลอนต่อกระบวนการสันติภาพที่กำลังเดินหน้าหรือไม่ ทีมข่าวพลเมืองภาคใต้สัมภาษณ์ผู้ติดตามสถานการณ์ภาคใต้มายาวนาน เพื่อหาคำตอบ

   

(ขอบคุณภาพจาก DSID)

เหตุไม่สงบชายแดนใต้ นัยความต่างของรอมฏอนในปีที่ไร้ข้อตกลงยุติความรุนแรง

ในช่วง 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอนโดยเฉพาะเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว พบว่าสถิติของสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้มีความถี่ค่อนข้างสูง แต่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาหลังจากที่มีการพูดคุยสันติภาพโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2556 และ 2557 ซึ่งช่วงนั้นได้เริ่มกระบวนการพูดคุยฯ โดยใช้เดือนรอมฎอนเป็นข้อตกลงร่วมกันอย่างลับๆ ว่าจะยุติความรุนแรงจากทั้งสองฝ่าย

Peace Survey สะท้อนเสียง ปชช. "สันติภาพต้องเดินหน้า"

หลังจากการแถลงผลสำรวจสันติภาพ หรือ Peace Survey ครั้งที่ 1 ถือเป็นครั้งแรกที่เปิดให้ภาคประชาสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานสำรวจตามหลักวิชาการ ทำให้มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับจากคนในพื้นที่ วันนี้ คุณอิมรอน  ซาเหาะ นักข่าวพลเมือง โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ได้สะท้อนเสียงของคนใน ที่ขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพหลังจากการแถลงผล Peace Survey
 
 

ผศ.ศรีสมภพ ชี้คนรุ่นใหม่ชายแดนใต้ยังไม่มีเงื่อนไขใช้ความรุนแรงขานรับ ISIS

ทีมข่าวพลเมืองภาคใต้ สัมภาษณ์ ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ในประเด็นการขยายแนวคิดสุดโต่ง

OIC กับการพูดคุยสันติภาพภายใต้รัฐบาลทหาร

การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของเลขาธิการองค์กรความร่วมมืออิสลาม (Orginaisation of Islamic Cooperation – OIC) คนใหม่ นาย Iyad Ameen Madani มีหลายประเด็นชวนให้ขบคิดเกี่ยวกับบทบาทของ OIC กับการพูดคุยระหว่างรัฐบาลไทยและ “ผู้เห็นต่างจากรัฐ” เกี่ยวกับความขัดแย้งในภาคใต้