Skip to main content

ในภาพอาจจะมี รถยนต์ และ สถานที่กลางแจ้ง

 

"ความเหลื่อมล้ำ" มันเปิดประตูความยุ่งยากมากมายหลายประเภท

โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า "ปากท้อง" อันรายล้อมไปด้วยบรรยากาศแห่งทุนนิยม

คนรวย ก็รวยขึ้น คนจน ก็จนลง
คนกลางๆ ก็ตะเกียกตะกาย 
อยากขึ้นบนก็เหนื่อย ทุกข์ที่จะลงล่างก็กลัว

เหมือนกรณี "รถกระบะ" ที่กลายเป็นหัวข้อสนทนาเยอะแยะ
หลายวงการ บางครั้งบางคราวก็กลายเป็นคำแซว
เพราะมันกระทบ "วงใหญ่" ของสังคม

คนรวยดูเหมือนไม่กระทบ แต่ระยะยาวกระทบแน่ๆ 
เพราะอย่าลืมว่าปีรามิดที่เขาอยู่สูงๆ ย่อมต้องอาศัยรากฐานค้ำยันมากมาย ไม่ไหนรวมถึงกลไกลทางการตลาด 
(เช่น ราคาก่อสร้างตึกรามบ้านช่องจะแพงขึ้น เพราะมีต้นทุนในการขนส่งแรงงานเพิ่มขึ้น ฯลฯ) 

ส่วนคนที่มีรายได้น้อยที่ไม่ต้องพูดถึงมาก คนพูดมาเยอะแระ 

การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่สร้างสรรค์ สำคัญ และต้องทำมากที่สุดคือ "การสร้างบริการสาธารณะ"

ไม่ต้องเอาตัวชี้วัดที่คิดยากๆมากำหนด
เอาเป็นว่า "บริการสาธารณะ" ที่จัดให้นั้น คนรวยอยากใช้ คนรายได้น้อยใช้งานง่าย

ที่สำคัญ คนออกนโยบาย "ต้องใช้" เป็นประจำ

เอาให้เห็นภาพ...

รถเมล์สาธารณะ ออกแบบยังไงให้คนนั่งเบนซ์ ขับบีเอ็ม ซิ่งปอร์เช่ อยากใช้ บริการยังไงให้คนรายได้น้อยไม่มีรถใช้งานง่าย และบรรดาผู้มีอำนาจใช้งานบ่อยๆ เช่นนายกฯ รัฐมนตรี อธิบดี มาทำงานไปกลับกับรถเมล์

ลองนึกภาพ รถเมล์นั้น จะเป็นรถเมล์แบบไหนกัน ?

เรือสาธารณะ มอเตอร์ไซค์วิน รถสามล้อ เลยไปถึงรถสองแถว แท็กซี่

ถ้าถึงขัันนั้น ไม่ต้องไปพะวงเรื่อง "อูบง อูเบอร์"
มันก้าวไปอีกขั้นแล้ว ช่องว่างทางการบริการมันไม่ได้ห่างชั้นมากแล้ว 

เมื่อนั้น "ความเหลื่อมล้ำ" มันจะทยอยอ่อนฤทธิ์ไปเรื่อยๆ อย่างน้อยก็ในความเป็นสาธารณะนี่แหละ 

แบบนี้ เป็นต้น

เรื่องรถกระบะ ก็เห็นใจ พูดยังไงใครๆ ก็ว่ากันไป

ห่วงความปลอดภัยของบุคคล ก็เห็นด้วย ดีชอบ ยกมือสนับสนุน

แต่ขอกดไมค์นิดนึง ... ขออนุญาต เห็นความปลอดภัยของประเทศชาติด้วย 

เพราะ การปล่อยให้ "ความเหลื่อมล้ำ" ซิ่งไปไกล โดยไม่ใส่เข็มขัดนิรภัยชื่อ "สาธารณะ" ถึงเวลา "ชน" ขึ้นมา

ประเทศจะหายนะ !

#PrinceAlessandro
06-04-2017