ทำไมป้ายผ้าที่ถูกแขวนทั่วปาตานีนั้นเน้น"เผด็จการทหารสยาม คือ มนุษย์ยุคหิน"
เมื่อ คืน 25-26 เม.ย.60 นปพ.ร่วม.น.ธ.ร่วมกับ นปพ.ร่วม ชร. , ชุดสืบสวนคดีความมั่นคง และคดีสำคัญ ศชต. , ฉก.ทพ.45 , ฉก.ทพ.48 , ชุดสืบสวน ภ.จว.น.ธ. , สภ.สุไหงปาดี , สภ.ตากใบ เข้าพิสูจน์ทราบเป้าหมายผู้ที่เกี่ยวข้องในการก่อเหตุเผา อบต.โฆษิต อ.ตากใบและยึดรถมาประกอบระเบิด นำมาจอดข้างฐานทหารที่ โคกสยา อ.สุไหงปาดี จำนวน 15 คน.....ผลการปฏิบัติควบคุมตัวได้ 12 คน และยึดป้ายผ้าที่กลุ่มผกร.จะนำมาแขวน เชิงสัญลักษณ์ ในเช้า 26 เม.ย.60 (ยกเลิกการปฏิบัติ เสียก่อน) จำนวน 1 ผืน ที่บ้านนายอาเซ็ง ยะโก๊ะ บ.ไอบาตู ต.โต๊ะเด็ง อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส (อ้างอิงจาก: ปมชายแดนใต้)
"รัฐบาลรัฐประหาร เผด็จการทหารสยาม คือ มนุษย์ยุคหิน ที่ไม่เข้าใจภาษามนุษย์" (the coup government siamese military is stone equamen human language) เป็นหนึ่งในประโยคของป้ายผ้าที่ถูกเขียนด้วยทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยที่ซ้อนด้วยนัยทางการเมืองที่จะสื่อสารกับกลุ่มคนที่ถูกเรียกชื่อว่า "มนุษย์ยุคหิน" (Stone equamen) แทนที่เผด็จการทหารสยามหรือรัฐบาลที่ได้มาจากการรัฐประหารอันที่มีศูนย์รวมอำนาจทางการเมืองที่บางกอก การแสดงเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองด้วยวิธีการแขวนป้ายผ้าในครั้งนี้อาจเป็นผลพวงมาจากแถลงการณ์ของ BRN ฉบับล่าสุดที่ได้ถูกเพิกเฉยโดยรัฐบาล บ้างก็ว่าแถลงการณ์ฉบับนี้เป็นฉบับปลอม บ้างก็ว่าไม่ได้ผ่านการเห็นชอบจาก DPP ของ BRN และที่เห็นได้ชัด คือ หลังจากที่ BRN แถลงการณ์ฉบับภาษาอังกฤษเป็นเอกสารออกมาเพียงหนึ่งวันหลังจากนั้น ซึ่งในแถลงการณ์นั้นก็มีเงื่อนไข 3 ข้อ เพื่อที่จะดำเนินการพูดคุยสันติภาพ แต่ปรากฏว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งหมดของ BRN
สังเกตได้ว่าป้ายผ้าที่ถูกยึดโดยเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ อ. สุไหงปาดี จ.นราธิวาส นั้น ได้ใช้คำว่า "มนุษย์ยุคหิน" แทน "รัฐบาลรัฐประหาร เผด็จการทหารสยาม" คำนั้นได้ฉายถึงความเหลือมล้ำทางสังคม ความไม่ก้าวหน้า หรือความไม่รู้เรื่องในการที่จะสื่อสารด้วยภาษามนุษย์ของกลุ่มคนหนึ่งๆ ถ้าเราย้อนไปดู 3 เงื่อนไขในแถลงการณ์ของ BRN ที่ว่าด้วย:
1.ทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องมีความจริงใจ และมีส่วนร่วมของภาคีฝ่ายที่สาม ซึ่งหมายถึงองค์กรหรือชุมชนระหว่างประเทศในฐานะพยานและผู้สังเกตุการณ์
2.คนกลางในการเจรจาควรมีความน่าเชื่อถือ และต้องมีหลักปฏิบัติตรงตามมาตรฐานสากล เช่น มีความเป็นธรรม ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นต้น
3.กระบวนการเจรจาควรถูกออกแบบให้มีความชัดเจนจากคู่เจรจา และทั้งสองฝ่ายต้องเห็นพ้องร่วมกันก่อนเริ่มต้นการเจรจา (อ้างอิงจาก https://www.isranews.org/main-issue/55365-condition.htm)
ถ้าพูดถึงคำว่า "สันติภาพ" หรือ Peace ทุกคนทั้งโลกก็จะรู้จักคำนี้ดีเพราะในตัวของมันเองนั้นบ่งบอกถึงความเป็น Global issue สิ่งที่ BRN ต้องการสื่อสารกับรัฐบาลก็คือประเด็นสันติภาพโดยเขาได้เน้นแล้วว่าต้องมีชุมชนระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างสันติภาพที่ปาตานีด้วย และการที่รัฐปฏิเสธเงื่อนไขของตน ตนก็มองว่ารัฐบาลทหารนั้นกำลังปฏิเสธความเป็น Globalization และมองว่ารัฐบาลมีความเป็นอนุรักษนิยม เลยได้เรียกรัฐบาลนี้ว่า "มนุษย์ยุคหิน"
แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีจุดยืนที่ชัดเจนว่าความขัดแย้งที่ปาตานีนั้นเป็นความขัดแย้งภายใน (Internal conflict) และไม่จำเป็นต้องมีประเทศที่สามหรือชุมชนระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา และที่มากไปกว่านั้นรัฐเองก็ยังยืนยันว่าตนสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนี้โดยที่ไม่พึ่งระหว่างประเทศ และข้อย้ำว่านี่คือความขัดแย้งภายใน (Internal conflict) ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ (International conflict)
ทั้งนี้ทั้งนั้น โดยส่วนตัวผมแล้วผมเห็นด้วยกับจุดยืนของรัฐบาลที่ว่า ความขัดแย้งที่ปาตานีเป็นความขัดแย้งภายใน เพราะอาณาบริเวณที่เกิดเหตุการณ์นั้นเป็นอาณาบริเวณของประเทศไทยในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเป็นความขัดแย้งภายในก็ไม่ได้แปลว่าชุมชนระหว่างประเทศนั้นไม่มีสิทธิที่จะเข้ามามีส่วนในการช่วยสร้างสันติภาพได้ เพราะประเด็นสันติภาพ คือ ประเด็นสากล (Global issue) และสันติภาพปาตานีก็คือสันติภาพของโลก ผมเชื่อมาตลอดว่าพวกเราคือโลก (We are the world) ในส่วนที่เหตุผลที่ผมมองว่าเป็น Internal conflict แต่ Global issue นั้นมีดังนี้
1.ปาตานีถูกแบ่งแยกแล้วก็ปกครอง (Divide and role) โดยสนธิสัญญาระหว่างประเทศในปี 1909 ที่มีชื่อว่า Siamese - Anglo treaty (คำถามว่าสิ่งนี้เป็นประวัติศาสตร์ของโลกหรือประวัติศาสตร์ของไทยอย่างเดียว? และประวัติศาสตร์ชุดนี้ผมก็ไม่ได้เรียนรู้จากหนังสือประวัติศาสตร์ของไทยที่อำนวยโดยกระทรวงการศึกษา ในประวัติศาสตร์ไทยไม่เคยมีปาตานี เพราะไทยไม่เคยนับว่าส่วนนี้ก็คือประวัติศาสตร์ของไทย)
2.การพูดคุยสันติภาพปาตานีนั้นต้องมีขึ้นในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีสถานะเป็นผู้อำนวยความสะดวกอยู่ คือ Malaysia แต่ถ้าให้มีการพูดคุยในประเทศไทย ผมเชื่อว่ากลุ่มแกนนำ BRN ที่อยู่ต่างประเทศนั้นไม่บินกลับมาพูดคุยที่บางกอกอย่างแน่นอน (ไม่มีพื้นที่ปลอดภัยในพื้นที่ความขัดแย้งหรือใครว่ามี?)
3.Patani เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย ณ ตอนนี้ และประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของ ASEAN community และ ASEAN community ก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดาวอังคาร แต่เป็นส่วนหนึ่งของโลก เท่ากับว่าพวกเรา คือ โลก หรือ We are the world นั่นเอง ดังนั้นประเด็นความขัดแย้งปาตานี คือ International issue
การสื่อสารเป็นหลักการพื้นฐานในการสร้างสันติภาพ ไม่ว่าความขัดแย้งที่ไหนในโลกนี้ล้วนแล้วให้ความสำคัญต่อยุทธศาสตร์การสื่อสารเป็นหลัก เหตุผลหนึ่งที่ผมมองว่าคนที่แขวนป้ายโดยที่ไม่ถ่ายรูปลงเฟสบุ๊คเพราะถ้าใครทำแบบนั้นก็จะถูกจับใส่ตางรางและโดนข้อหาสมาชิกของ BRN และสิ่งที่น่าสนใจไปมากกว่านั้นถ้าคนที่ไปแขวนป้ายผ้านั้นเขาเป็นประชาชนทั่วไปที่มีแนวคิดทางการเมืองที่ขัดกับรัฐ และพวกเขาไม่ใช่สมาชิกของ BRN แต่พวกเขามีสิ่งที่เหมือนกับ BRN หรือไม่ก็ BRN มีสิ่งที่เหมือนกับพวกเขา ถ้าเป็นเคสแบบนี้รัฐจะทำยังไง? หรือจะใส่ข้อหาเขาว่าเป็นสมาชิกของ BRN? เพราะไม่มีพื้นที่ทางการเมืองในการแสดงออก ประชาชนเลยต้องแสดงออกทางการเมืองแบบหลบๆซ่อนๆ และผมเชื่อมาตลอดว่าคนที่ไม่ใช้ความรุนแรงในการแสดงออกทางการเมืองในประเด็นปาตานี ไม่ว่าจะเป็นเคสนี้หรืออื่นๆที่ผ่านมาแล้ว และถูกจับกุมใส่คุกใส่ตาราง พวกเขาทุกคนไม่ได้เป็นสมาชิกของ BRN เสมอไป
28 April 2017
@Patani_Tenggara