Skip to main content

ในช่วงท้ายๆ ของงานเสวนา มีผู้เข้าร่วมท่านหนึ่งถามบรรดาท่านวิทยากรว่า ฝ่ายรัฐไทยและฝ่าย BRN มีความจริงใจแค่ไหนในกระบวนการสันติภาพ หนึ่งในวิทยากรได้รับเชิญในงานเสวนาดังกล่าวคือ ศ. ดร. ชัยวัตน์ สถาอานันท์ ผมก็อยากฟังความคิดเห็นของท่านอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ท่านก็ให้คำตอบที่ผมไม่คาดคิด ท่านให้คำตอบว่า ไม่สนใจเรื่องความจริงใจ ผมตกใจกับคำตอบของท่่าน แต่เหตุผลที่ท่านให้ต่อคำตอบของท่านนั้นน่าสนใจ จึงผมขออนุญาติสรุป ณ ตรงนี้

ท่านได้อธิบายว่า ความจริงใจเป็นสิ่งที่วัดไม่ได้ และในการวิเคราะห์การเมือง ถ้าอยากจะวัดความจริงใจก็ต้องดูที่ผล ไม่ใช่เหตุ ท่านยกตัวอย่างเรื่องละหมาด พ่อแม่ชาวมุสลิมสอนลูกปฏิบัติการละหมาดตั้งแต่เมื่อเด็กยังมีอายุน้อย เพื่อให้การปฏิบัติศาสนกิจในตัวเด็กนั้นจะแข็งแรง เมื่อมีการปฏิบัติอย่างแข็งแรงจะส่งผลต่อความจริงใจ...

นี่คือการเปลี่ยนแง่มุมที่น่าสนใจ เพราะคนเรามักจะคิดว่า ก่อนจะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ดี เราก็ต้องมีความจริงใจ แต่วิธีการปฏิบัติศาสนาอิสลามสอนให้คนเราปฏิบัติก่อน เดี๋ยวเมื่่อมีการปฏิบัติอย่างแข็งแรงและต่อเนื่อง ความจริงใจจะเกิดขึ้นตามหลัง JA">

ในฐานะเป็นมุอัลลัฟคนหนึ่ง (คนที่ไม่ได้เกิดมาเป็นมุสลิม แต่รับอิสลามทีหลัง) ผมมีปัญหาเรื่องความจริงใจนี้ตลอด เพราะหลายๆ ครั้งผมปฏิบัติศาสนกิจอย่างไม่จริงใจ ตัวอย่างที่ท่านอาจารย์ยกมาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหานี้อันดีเลิศ ปฏิบัติก่อนเพื่อให้เกิดความจริงใจ...ความกังวลในใจผมก็หายไป  

ผมเห็นด้วยอีกว่า ในการวิเคราะห์การเมือง ความจริงใจไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญและน่าจะไม่ต้องสนใจ แต่เราต้องดูที่ผลที่เกิดขึ้น JA">

ตัวอย่างเช่น (ตัวอย่างของผมเองครับ) ในเมื่อมีเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่อยากจะทำธุรกิจนำเข้ารถยนต์มือสองจากประเทศญี่ปุ่น และมาหาผมเพื่อขอช่วย ถึงแม้ว่าผมอยากจะช่วยเพื่อนคนนี้ในฐานะเป็นเพื่อนสนิท แต่เนื่องจากผมไม่มีความรู้ใดๆ เรื่องธุรกิจ ไม่รู้จักใครสักคนที่จะช่วยเรื่องนี้ได้ (ผมไม่ใช่หัวธุรกิจ) ในสุดท้าย แม้ว่าผมจะช่วยเขาด้วยความจริงใจและทำงานหนักแค่ไหนก็ตาม อาจจะไม่ได้ผลอะไรเลย ในทางกลับกัน ถ้าเพื่อนคนนั้นไปหานักธรกิจฝีมือดีที่มีความรู้ ทักษะและประสบการ ถึงแม้ว่านักธุรกิจคนนี้อาจจะช่วยเขาไม่เต็มใจ แต่คงจะได้ผลมากกว่าความช่วยเหลือของผมด้วยความจริงใจที่ไม่ให้เกิดผลใดๆ แล้วคนที่เห็นผลความช่วยเหลือของทั้งสองคน และไม่รู้ภูมิหลังของเรื่องจะคิดว่าคนใน (ผมกับนักธุรกิจ) มีความจริงใจมากกว่ากัน JA">?

เมื่อกลับมาที่เรื่องกระบวนการสันติภาพ ผมก็เห็นด้วยกับท่านอาจารย์ัชัยวัตน์ว่า ความจริงใจไม่สำคัญ เพราะมันไม่ใช่ปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลที่คาดหวังเสมอ JA">

แต่สิ่งที่สำคัญกว่าความจริงใจต่อความคืบหน้าและการดำเนินกระบวนการสันติภาพก็มีหลายๆ ปัจจัย อาทิ (เป็นข้อสังเกตของผม)

- เจตนารมณ์ทางการเมือง JA">(political will)

- สิ่งแวดล้อม (environment)

- กลไก (mechanism)

- เงื่อนไข (conditions)

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เริ่มจะครับแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่ามีครบสมบูรณ์ทุกอย่าง ณ ตอนนี้ เราต้องยอมรับว่า ยังมีอุปสรรคมากมายด้วย อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ทั้งสองฝ่าย (รัฐไทยและผู้ที่เห็นต่างจากรัฐที่นำโดย BRN) มีเจตนารมณ์ทางการเมืองที่จะดำเนินกระบวนกาัรสันติภาพต่อไป

เราต้องสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อกระบวนการ (การพูดคุย หรือตามศัพท์ของอาจารย์ชัยวัตน์ก็ สันติสนทนา peace dialogue) สังคมก็ต้องพยายามเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อกระบสนการสันติภาพเช่นเดียวกัน ปััจจุบันนี้ สิ่งแวดล้อมยังไม่เอื้อต่อกระบวนการดังกล่าวมาก แต่มีความเปลี่ยนแปลอย่างมีนัยสำคัญ และกลไกกระบวนการเจรจาก็ต้องแข็งแรงขึ้นกว่าปัจจุบัน สำหรับตอนนี้ยังอยู่ขั้นเริ่มต้น ถ้ามีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาปาตานี ฝ่ายรัฐก็ควรพิจารณาข้อเรียกร้องที่จะให้กระบวนการสันติภาพเป็นวาระแห่งชาติด้วย เพื่อเงื่อนไขต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพจะยิ่งครบสมบูรณ์

ในเสวนาครั้งนี้ เมื่อมีคนถามว่า อะไรเป็นปัญหาของฝ่ายรัฐไทยและ BRN ท่านอาจารย์ชัยวัตน์ก็ให้คำตอบที่ผมไม่คาดคิดเช่นกัน คือ ความจริงแล้วปัญหาอยู่ที่ฝ่ายที่ยังไม่เข้าร่วมกระบวนการสันติภาพมากกว่า...คำตอบของอาจารย์ก็อธิบายถึงหลักการสำคัญของกระบวนการสันติภาพที่ประสบความสำเร็จ คือ มันต้องดำเนินอย่างครบคลุมและกว้าง (inclusive) หมายถึง ทุกฝ่ายต้องมีส่วนรวมและแต่ละฝ่ายก็ต้องเป็นเอกฉันท์ ฉะนั้นสังคมไทยยิ่งมีส่วนรวมก็ยิ่งเอื้อต่อกระบวนการสันติภาพ  

วิทยากรอีกท่านหนึ่ง ดร. อับดุลรอนิง สือแต ก็ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า การะบวนการสันติภาพเป็นห้องเรียนสำหรับสังคมไทยโดยภาพรวม ผมเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นข้อนี้อย่างยิ่ง และมันตรงกับคำแนะนำของ อ. ชัยวัตน์ที่ว่า อย่าเพิ่งตกใจกับสิ่งที่เราเจอในกระบวนการสันติภาพ ท่านก็อธิบายว่า ในกระบวนการสันติภาพทั้งรัฐไทยและ mso-fareast-language:JA">BRN ก็อยากให้ประชาชนในพื้นที่อยูดีมีสุข แต่การตีความของการอยู่ดีมีสุขระหว่างส่องฝ่ายนี้แตกต่างกัน เพราะทั้งสองฝ่ายมีอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน เมื่ออุดมการณ์แตกต่างกัน ความคิดก็ย่อมไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เอง เราไม่จำเป็นต้องมีอาการช็อกทุกครั้งเจอกับสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด แต่ต้องดำเนินสันติสนทนาเพื่อหาความเข้าใจกัน

mso-fareast-language:JA">ไม่ทราบว่า ผมได้สรุปข้อคิดเห็นของท่านอาจารย์ชัยวัตน์อย่างถูกต้องหรือเปล่า และไม่ทราบเช่นกันว่า ผมขยายความคิดเห็นของท่านอาจารย์มากเกินไปหรือไหม อย่างไรก็วันนี้ได้เห็นว่ามีกล้องหลายตัวบันทึกภาพอยู่ ผมคาดว่าคงจะมีคลิปวีดีโอของเสวนาครั้งนี้ในเวลาอีกไม่นาน ถ้าใครเจอลิงค์ก็ช่วยแชร์กันด้วยนะครับ

 

File attachment
Attachment Size
ppp02200_0.jpg (150.4 KB) 150.4 KB