Skip to main content

เสริมสร้างความเข้มแข็งทางสังคมและวัฒนธรรม และการเข้าไปเกี่ยวข้องกับความรุนแรง เพื่อให้ทุกท่านได้ตระหนักถึงอีกหลายแง่มุมของอนาคตของชาติในพื้นที่แห่งนี้ K4DS Post ฉบับเดือนมกราคม สะท้อนเรื่องราวของเด็กในชายแดนใต้ ทั้งกิจกรรมดีดีที่ช่วยนอกจากวันปีใหม่แล้ว วันเด็กยังเป็นอีกวันที่สร้างความสุขและรอยยิ้มให้แก่เด็กๆ ทั่วประเทศ ย่างเข้าเดือนมกราคม กลิ่นอายของความสุขสนุกสนานและการเฉลิมฉลองได้มาเยือนอีกครั้ง

เด็ก เยาวชน ชุมชนบ้านคูลดเสี่ยง

ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านคู ต.ยาบี อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณ วัดยานิการามแห่งนี้ ไม่เคยว่างเว้นจากกิจกรรมชุมชน ทุกวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา เก้าโมงเช้าถึงเที่ยง เด็กและเยาวชนร่วมกับพ่อแม่ คนเฒ่าคนแก่ในชุมชน จะมาร่วมกันศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ชุมชนและวิถีชีวิตของคนตำบลยาบี ทั้งเรื่องสังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เช่นวันนี้ เด็กๆ ในชุมชนรวม 19 คน ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่ชุมชนช่วยกันจัด ได้หัดทำอีเอ็มบอลเพื่อเอาไปใช้ปรับสภาพน้ำ และได้เรียนรู้ถึงวิธีการทำน้ำส้มยางจากน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ โดยมีหมออนามัยให้การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้


K4DS เปิดประตูความรู้ชายแดนใต้

การคุ้มครองต้องมาก่อน ป้องกันไม่ให้เด็กมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มพลเรือนติดอาวุธในภาคใต้ของประเทศไทย บรรณาธิการโดย องค์กรพันธมิตรเพื่อยุติการใช้ทหารเด็กและมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ 2554.

 

"…รายงานฉบับนี้กล่าวถึงการคัดเลือกและการใช้เด็กโดยชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) โดยสรุปถึงข้อกังวลที่เกี่ยวกับการควบคุมตัวเด็กที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มต่อต้านติดอาวุธ อีกทั้งมีข้อเสนอแนะอย่างละเอียดต่อรัฐบาลไทย ซึ่งหากได้รับการนำไป ปฏิบัติแล้วก็จะเป็นพื้นฐานของยุทธศาสตร์แบบรอบด้านในการคุ้มครองเด็กที่ได้รับผลกระทบ จากความรุนแรงที่มีการใช้อาวุธในภาคใต้ และยังช่วยให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามพันธกรณี ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอีกด้วย..."

อ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่


รายงานสถานการณ์เด็กและสตรี จังหวัดชายแดนใต้ ปี 2556 บรรณาธิการโดย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจ HAP, 2556.

"...การศึกษาครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากหลายฝ่าย และนํามาวิเคราะห์เพื่อศึกษาช่องว่างและ

ความท้าทายในการปกป้องเด็กและสตรี จากผลการศึกษาพบว่า เด็กและผู้หญิงได้กลายเป็น

เป้าหมายหนึ่งในการใช้ความรุนแรงเพื่อผลทางการเมือง โดยประสบเหตุความรุนแรงจากการ

ถูกยิงเป็นส่วนใหญ่และเกิดจากการอยู่ในบริเวณที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และผลกระทบจาก

ความรุนแรงที่ยืดเยื้อได้กลายเป็นปัจจัยที่เอื้อให้เด็กและผู้หญิงเกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรง

ของทั้งสองฝ่ายในที่สุด...."

อ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่