‘ซุลกิพลี บาการ์’ คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์อูตูสซันมาเลเซีย
กองบรรณาธิการสำนักข่าวอามาน แปลและเรียบเรียง
http://voicepeace.org
หมายเหตุ: สื่อมวลชนมาเลเซียผู้นี้ฟันธงว่า “การนำสันติสุขกลับคืนสู่ภาคใต้จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้นำประเทศ และประชาชนในพื้นที่” โดยมองว่าภารกิจของนายนายิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีของพวกเขา ‘ท้าทาย’อย่างยิ่งต่อการสร้างสันติภาพในภาคใต้ แต่กระนั้นในขณะที่คนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถามหาความ ‘จริงใจ’ ของรัฐบาล สื่อมวลชนของมาเลย์ก็เรียกร้องให้นายกฯ ของตนเอง ‘จริงจัง’ในการร่วมแก้ปัญหาของประเทศเพื่อนบ้านด้วยแนวคิด “หากเพื่อนข้างบ้านยังทะเลาะกันจะนอนหลับได้อย่างไร” พร้อมกับแนะให้รัฐบาลไทยหา ‘ตัวจริง’ ให้เจอเพื่อเจรจา จึงจะสร้างสันติสุขได้อย่างยั่งยืน กองบรรณาธิการสำนักข่าวอามานแปลและเรียบเรียงข้อเขียนฉบับเต็มมาให้อ่านดังนี้
"ภักดีต่อประเทศชาติ" ถึงแม้ว่าจะเป็นคำพูดสั้นๆ ที่เปล่งออกมาจากปากดาโต๊ะศือรี นายิบ ตุน ราซัก แต่ก็เป็นคำพูดที่มีคุณค่าสำหรับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของไทย
เพราะด้วยความจงรักภักดีต่อประเทศชาติเท่านั้นที่พวกเขาสามารถนำพาความสำเร็จของโครงการรัฐบาลในการนำพาสันติสุขสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้
สิ่งที่สำคัญคือ คำกล่าวฝากของนายิบไม่ได้มีเพียงหลังจากที่มีการพบกันกับนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่กรุงเทพฯเท่านั้น แต่ยังพูดในระหว่างการลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส นายิบยังกล่าวคำพังเพยที่กระทบใจของประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างลงเยี่ยมพื้นที่จังหวัดนราธิวาสพร้อมๆ กับ นายอภิสิทธิ์ ที่โรงเรียนอัตตัรกียะฮฺ โดยนายิบได้ดึงความสนใจแขกผู้มีเกียรติว่า " จงเป็นผู้สนับสนุนที่เข้มแข็งต่อปรัชญาที่ว่า ‘จะอยู่ที่ใดก็แล้วแต่ ที่ตรงนั้นฟ้าต้องครอบหัวเรา’ ( Jadilah pendokong yang kuat kepada falsafah di mana bumi dipijak, di situ langit dijunjung)
นายิบเข้าใจอย่างยิ่ง ทุกคำพูดที่เปล่งออกไปนั้นได้รับความสนใจและการประเมินจากชาวมุสลิม ดังนั้นท่าน(นายิบ)ต้องการให้พวกเขาได้เข้าใจว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเขาจะต้องให้การสนับสนุนความพยายามที่จะนำมาซึ่งสันติภาพสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกครั้ง
สำหรับนายกรัฐมนตรี นายิบ ข้อความสันติภาพจำเป็นต้องกล่าวและในขณะเดียวกัน มาเลเซียมีความจริงจังในการให้ความร่วมมือกับไทยเพื่อนำสันติภาพสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าว
ความจริงแล้วมาเลเซียเข้าใจ และทราบดีว่าความขัดแย้งในภาคใต้เป็นปัญหาภายในของไทย และมาเลเซียจะไม่เข้ามาแทรกแซงอย่างเด็ดขาด แต่มาเลเซียก็จะไม่กอดอกอยู่เฉยๆ เช่นกัน
ด้วยสาเหตุดังกล่าว นายิบ ได้กำชับว่า ถึงแม้ว่ามาเลเซียจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว แต่ท่านต้องการเห็นความสามารถในการแก้ไขปัญหาในแนวทางของไทย โดยไม่มองว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาเล็กๆ เพราะปัญหาดังกล่าวจะนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงของประเทศชาติ
ในความจริงแล้ว มาเลเซียมีแนวทางมากมายที่สามารถทำได้ในการให้ความช่วยเหลือประเทศไทย เพราะถ้าปัญหายิ่งยาวนานขึ้น และผู้ที่จะได้รับผู้กระทบจากเหตุการณ์คือมาเลเซียในฐานะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน เปรียบเสมือนบ้านที่ไม่สามารถนอนหลับได้ตราบใดที่เพื่อนข้างบ้านยังทะเลาะกันอยู่
ด้วยสาเหตุดังกล่าว นายิบซึ่งมองด้วยแนวทางทางการทูตต้องการเห็นปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ของไทยสามารถแก้ไขได้ อาจไม่สำเร็จในระยะเวลาสั้นๆ แต่นายิบ กล่าวว่า “จำเป็นต้องมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์”
ถึงกระนั้นก็ตาม ไม่ว่าความพยายามในการนำสันติสุขกลับคืนสู่ภาคใต้จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้นำประเทศและประชาชนในพื้นที่
พวกเขาจำเป็นต้องคิดให้หนักว่ามาเลเซียเป็นประเทศมุสลิมที่พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างไทยในการนำพาสันติสุขสู่ภาคใต้
ในการที่จะดำเนินการเรื่องนี้ ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจำเป็นต้องรู้จักอย่างแท้จริงว่ากลุ่มใดที่ไทยต้องคุยเจรจา
ในขณะนี้เห็นได้ชัดคือ พวกเขายังคงหาว่าใครคือกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่แท้จริงและใครคือหัวหน้ากลุ่มของพวกเขา หากมีการเจรจากันจริงๆ กับกลุ่มหรือแกนนำของกลุ่มแบ่งแบกดินแดนแน่นอนที่สุดวันนี้จะไม่เกิดปัญหาขึ้น
รวมถึงระเบิดที่เกิดขึ้นที่จังหวัดนราธิวาสในวันจันทร์และที่ยะลาในวันอังคาร (แท้จริงตรงกับวันพุธ: ผู้แปล)
นอกจากนั้น สำหรับฝ่าย “กลุ่มขบวนการ” หากเป็นกลุ่มที่แท้จริงและพร้อมที่จะเจรจากับรัฐบาลไทย เพื่อนำมาซึ่งสันติภาพ แน่นอนที่สุดคงไม่พูดคำว่า “พวกเราจะจัดงานเลี้ยงยิ่งใหญ่”
มันเป็นคำพูดที่ออกจากปากผู้นำคนหนึ่งที่แอบอ้างว่าเป็นผู้มีอิทธิพลในกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน ในความหมายของแนวร่วมขบวนการแบ่งแยกดินแดน คำว่า “งานเลี้ยง” คือการโจมตีด้วยระเบิด
ด้วยสาเหตุดังกล่าวนั้น รัฐบาลไทยเองหรือแม้แต่รัฐบาลมาเลเซีย จะไม่เชื่อบุคคลที่แอบอ้างว่าเป็นแกนนำของขบวนการแบ่งแยกดินแดน ในขณะที่เขาอาศัยอยู่ในต่างแดน และไม่เคยกลับไปยังแผ่นดินเกิดเลย
ดังนั้นเขาจะรู้สถานการณ์ที่แท้จริงในภาคใต้ได้อย่างไร
ดังนั้น มีความเป็นไปได้หากเป้าหมายในการเจรจานั้นเกิดขึ้นกับกลุ่มแท้จริงที่เคลื่อนไหวไม่ใช่กับตัวบุคคล ซึ่งในความจริงเปรียบเสมือน “ปี๊บเปล่า” (ในความหมายที่ถูกตีเสียงดังอย่างเดียว แต่ข้างในว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย :ผู้แปล)
ทำไมผู้เขียนกล้าพูดเช่นนี้ เพราะ มันเกี่ยวข้องกับคำพูดที่นายิบกล่าว “ภักดีต่อประเทศชาติ” และที่สำคัญคือนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้
หากความรุนแรง ยังคงเกิดขึ้น แน่นอนที่สุดความเอาจริงเอาจังของมาเลเซีย ในการช่วยเหลือไทยนำไปสู่สันติภาพคงไร้ประโยชน์
สันติภาพจะไม่ประสบความสำเร็จและเกิดขึ้น เพราะผู้เขียนเข้าใจว่า ผู้นำส่วนใหญ่ที่อ้างว่าเป็นผู้นำของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนนั้นไม่มีกำลังความสามารถใดๆ และนอกจากนั้นผู้นำบางคนไม่เป็นที่รู้จักของผู้คนในจังหวัดภาคใต้ เพราะชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในต่างแดนรวมถึงในยุโรป
ดังนั้นการค้นหากลุ่มที่แท้จริงในการเจรจาจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความพยายามในการสร้างสันติภาพ หากต้องการเอาเป็นแบบอย่างความพยายามที่สำเร็จของอินโดนีเซีย กับขบวนปลดปล่อยอาเจะฮฺ หรือ GAM
ความสามารถของรัฐบาลอินโดนีเซียในการเจรจากับกลุ่มที่เป็นของจริงสามารถทำให้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างอาเจะฮฺกับอินโดนีเซียสามารถยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมากว่า 40 ปี
ความจริงคือ มาเลเซียเพียงสามารถวางแผนในการให้ความร่วมมือกับไทย ในความพยายามให้การช่วยเหลือสังคมมุสลิมในประเทศไทย ในด้านการพัฒนาการศึกษา เศรษฐกิจ พร้อมทั้งแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และการแก้ปัญหาบุคคลสองสัญชาติ
แต่เพื่อร่วมมือในเรื่องการเจรจากับกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งเป็นเรื่องภายในของไทย ดังนั้น หากต้องการนำสันติภาพอย่างแท้จริงต้องเจรจากับกลุ่มที่แท้จริง
มาเลเซียภายใต้การนำของนายิบ มีความจริงจังในการที่จะเห็นความสงบสุขกลับคืนสู่ภาคใต้ ด้วยสาเหตุดังกล่าว นายิบพร้อมที่จะลงพื้นที่ที่มีความขัดแย้งซึ่งเป็นครั้งประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งท้าท้ายเล็กน้อยสำหรับมาเลเซียหลังจากนี้ คือการวางแผนเพื่อให้การช่วยเหลือสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สอดคลองกับความร่วมมือที่ได้ทำข้อตกลงกันระหว่างการประชุมที่ผ่านมาของทั้งสองประเทศ
หากก่อนหน้านี้ ภารกิจทั้งหมดถูกดำเนินการโดย Task Force 2010 (Malaysia) แต่หลังจากนี้จะถูกมอบหมายให้กับหน่วยงานที่แต่งตั้งขึ้นเพื่อสานงานต่อของรัฐบาล
พวกเขาจำเป็นต้องเข้าใจว่า โดยยึดหลักความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างนายิบกับอภิสิทธิ์ มาเลเซียจำเป็นต้องแสดงความจริงจังในเรื่องดังกล่าว
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พวกเขาคิดอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องง่ายแต่สิ่งที่จำเป็นต้องเข้าใจคือ ความละเอียดอ่อนในเรื่องความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศจำเป็นต้องรักษาไว้
ดังนั้นไม่ว่าจะในรูปแบบการดำเนินการใดๆ ก็ตาม จำเป็นที่จะหลีกเลี่ยงคำครหาว่ามาเลเซียเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน
ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นใด การลงพื้นที่ของนายิบ เป็นแรงกระตุ้นในความพยายามที่เอาจริงเอาจังในการนำมาซึ่งสันติภาพสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
หวังว่าการลงพื้นที่ของนายิบ จะสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นกับกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน ที่ยังคงต้องการต่อสู้อย่างว่างเปล่าของพวกเขา ว่า การจับอาวุธและการวางระเบิดไม่ใช่แนวทางที่ดีในการช่วยสังคมอิสลามในภาคใต้ของไทยในการลิ้มรสอิสรภาพ ความสงบสุข และความเจริญรุ่งเรือง แต่กลับตรงกันข้ามที่จะนำมาซึ่งความเดือดร้อน ที่ไม่มีวันสิ้นสุดสู่ประชาชนในภาคใต้.