ความร้อนแรงของการเมืองในรั้วมหาวิทยาลัยมุสลิมอาลิการ์ เป็นไปอย่างคึกคักเมื่อผู้สมัครนายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษาได้ออกรณรงค์ในการหาเสียงเพื่อไปสู่เก้าอี้ทางการเมืองในรั้วมหาวิทยาลัย อย่างน้อยที่สุด เป้าหมายของการเมืองในมหาวิทยาลัยที่ไม่สามารถหลีกหนีได้ นั่นก็คือ เพื่อเป็นไปใบเบิกทางให้กับนักศึกษาในการเข้าไปสู่สนามการเลือกตั้งในระดับประเทศต่อไป ที่สำคัญกว่านั้น คือ การก้าวมาเป็นหนึ่งในผู้นำของเยาวชนมุสลิมในโลกมุสลิมอีกต่อไป นี่ คือ เก้าอี้อันทรงพลังทางการเมืองของอินเดีย
หลายคนอยากเป็นอย่าง ซากิร ฮูเซ็น (Zakir Hussain) อดีตนายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษา อดีตรองอธิการบดี อดีตผู้ว่าการรัฐบิหาร และอดีตประธานาธิบดีของอินเดีย หรือผู้มีชื่อเสียงคนอื่น ๆ ที่ได้รับหน่อเชื้อของระบบการเมืองในรั้วมหาวิทยาลัยมุสลิมอาลิการ์ ไปสู่การเมืองระดับรัฐและระดับชาติอย่างที่เห็น
องค์การบริหารองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยมุสลิมอาลิการ เมืองอาลิการ์ รัฐอุตราปราเดส ประเทศอินเดีย ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๑๘๘๔ เพื่อเป็นองค์การในการสานผลประโยชน์ให้กับนักศึกษา ได้ก่อตั้งขึ้นประมาณ ๑๐ ปี หลังจากมหาวิทยาลัยได้ก่อตั้งเมื่อปี ๑๘๗๕ ซึ่งขบวนการนักศึกษานับเป็นอีกกลุ่มกดดันทางการเมือง (Pressure Group) ขนาดใหญ่ในประเทศอินเดียที่มีพลังในการต่อรองกับการเมืองระดับประเทศ
เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๗ ซามีรุดดีน ชาห์ (Vice Chancellor Lt. General Zameer Uddin Shah) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมุสลิมอาลิการ์ และศาสตราจารย์นาอีม อะหมัด คาน (Prof. Naeem Ahmad Khan) อาจารย์ภาควิชาการแพทย์แผนทางเลือก ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งองค์การบริหารองค์การนักศึกษาประจำปี ๒๕๕๗ และคณะกรรมการการเลือกตั้งจำนวน ๑๔ ท่าน ได้ออกมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการเลือกตั้งในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ ซึ่งผลของการประกาศดังกล่าวได้ส่งให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งหาเสียงในบริเวณมหาวิทยาลัยได้ทันที แผ่นป้ายและใบปลิวประกาศเพื่อหาเสียงได้เปลี่ยนภาพของมหาวิทยาลัยเป็นอีกมุมหนึ่ง ทุกสถานที่เต็มไปด้วยชื่อของบรรดาผู้สมัคร นอกจากนั้น หลายคนได้ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ระดับประเทศ อย่างไทม์ออฟอินเดีย (Time Of India) เพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งและความน่าจะเป็นของการเมืองในมหาวิทยาลัย
ประกาศดังกล่าวของมหาวิทยาลัยส่งผลให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งระดับปริญญาตรี ถึง ปริญญาเอกทุกสาขาวิชา สามารถใช้สิทธิ์ในการลงคะแนนเสียง ส่วนนักเรียนระดับมัธยมปลายและอื่น ๆ ตามลำดับไม่มีสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงดังกล่าว และแต่งตั้งคณะกรรมการอาวุโส ๑๔ ท่าน เพื่อเป็นคณะกรรมการในการจัดการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว ซึ่งอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเป็นผู้สังเกตการณ์จำนวน ๒๘ ท่าน และกรรมการเลือกตั้งมาจากอาจารย์ในแต่ละคณะจะมาประจำการตามหน่วยเลือกตั้งที่ได้จัดขึ้นประมาณ ๑๔ เขตเลือกตั้งทั่วมหาวิทยาลัย
ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง ไดรับการคัดเลือกมาจากคณะต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดคือ ศาสตราจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยจากภาควิชาและสาขาต่าง ๆ จำนวน ๒๘ ท่าน ซึ่งได้รับการประกาศจากผู้อำนวยการการเลือกตั้งด้วยความเห็นชอบของรองอธิการบดี เพื่ออำนวยความสะดวกในเขตเลือกตั้งทั้งหมดประมาณ ๑๔ เขตเลือกตั้ง เช่น
ในเขตเลือกตั้งคณะศิลปะศาสตร์ ผู้สังเกตการณ์ คือ ศาสตราจารย์อัสเมอร์ เบก (Prof. Asmer Beig) อาจารย์จากภาควิชารัฐศาสตร์
เขตเลือกตั้งคณะพาณิชศาสตร์ คือ ศาสตราจารย์อรีฟ ฮามิด (Prof. Arif Hameed) หัวหน้าภาควิชารัฐศาสตร์
เขตเลือกตั้งคณะวิศวกรรมการศาสตร์ คือ ศาสตราจารย์อาลี มูฮัมหมัด (Prof. Ali Muhammad) อาจารย์ภาควิชาศาสนศาสตร์ สาขาชีอะศึกษา
เขตเลือกตั้งคณะบริหารและวิจัย คือ ศาสตราจารย์ อิกบาล อาซิส (Prof.Iqbal Aziz) อาจารย์ภาควิชาการแพทย์แผนทางเลือก
เขตเลือกตั้งคณะวิทยาศาสตร์ คือ ศาสตราจารย์ตาริก มันซูร (Tariq Mansoor) อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์
วิทยาลัยผู้หญิง (Abdulla's Woman College)คือ ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด กุลเรส (Prof.M. Gulraz) อาจารย์ภาควิชาเอเชียตะวันตกศึกษา
การเมืองในมหาวิทยาลัยได้จัดให้ระบบการลงสมัครเลือกตั้งต้องไม่พัวพันและอิงกับระบบฐานเสียงของพรรคการเมืองนักศึกษา เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้ามาของนักการเมืองท้องถิ่นในการสนับสนุนและสร้างอำนาจบารมีเหนือการเมืองในมหาวิทยาลัย ซึ่งทางเลือกและทางออกอย่างง่ายที่สุดนั่นก็คือ ตัดระบบสังกัดพรรคการเมืองออกไปจากระบบการเลือกตั้งในมหาวิทยาลัยและถอนกลุ่มองค์กรนักศึกษาของอินเดียออกไปจากมหาวิทยาลัยเพื่อป้องกันความรุนแรงบานปลายในระยะยาวของการเมืองในมหาวิทยาลัย เพราะ กลุ่มสาขาพรรคการเมืองระดับชาติในมหาวิทยาลัยไม่ได้มีผลต่อระบบการเมืองของประเทศอย่างเดียว แต่ ส่งผลให้เกิดไปถึงระบบการเมืองของโลกมุสลิมด้วย
มูฮัมหมัด ฮัมซะ (Muhammad Hamza) หนึ่งในนักศึกษาจากคณะแพทย์ผู้สมัครลงเลือกตั้งเพื่อชิงตำแหน่งนายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษาได้อธิบายถึงความรู้สึกตัวเองหลังจากถูกปฏิเสธสิทธิ์ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษาด้วยเหตุผลเพราะ มีคะแนนในการเข้าเรียนไม่ถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้
“ผมถูกปฏิเสธให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในปีนี้เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยให้เหคุผลว่า ผมมีคะแนนการเข้าเรียนไม่ถึงเกณฑ์ แต่ผลที่ออกมาปรากฏว่า ผมได้รับคะแนน ๗๕.๔ เปอร์เซ็น ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้มีการดำเนินการสอบสวนกันต่อไป” ฮัมซะกล่าวอย่างผิดหวัง
จากการตรวจสอบข้อกังขาดังกล่าวเป็นไปอย่างราบรื่น แม้จะมีการประท้วงจากกลุ่มนักศึกษาในจำนวนหนึ่ง ซึ่งอดีตผู้อำนวยการการเลือกตั้งองค์การบริการองค์การนักศึกษาในประเทศอินเดียอย่าง เจมส์ มิเชล ลิงดอร์(James Michel Lyngdoh) ได้ออกมาบอกถึงมาตรการดังกล่าวเพื่อคัดเลือกคุณสมบัติของผู้ลงสมัคร ส่งผลให้ นายฮัมซะ หมดสถานภาพไปโดยปริยายเพราะคะแนนการเข้าชั้นเรียนของเขาไม่ถึงเกณฑ์ที่ระบุไว้ ซึ่งส่งผลให้นักศึกษากลุ่มดังกล่าวไม่พอใจในการลงมติเพื่อกำหนดคุณสมบัติดังกล่าวและพวกเขา บอกว่า
“กฏดังกล่าวนั้นนำไปสู่การตัดสิทธิของนักศึกษาที่ควรจะได้รับ”
ความน่าเป็นห่วงของการเมืองในรั้วมหาวิทยาลัย นั่นก็คือ พรรคการเมืองนอกมหาวิทยาลัยได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกลุ่มผู้ลงสมัคร อาจนำไปสู่การเกิดความรุนแรง ถึงขั้นตัดสินด้วยการปะทะและยิงกันอย่างหลายปีที่ผ่านมา
หลังจากนั้นทางมหาวิทยาลัยได้ออกประกาศผู้มีสิทธิ์ลงรับสมัครเลือกตั้งจากการประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งองค์การบริหารองค์การนักศึกษา ศาสตราจารย์นาอีม อะหมัด คาน (Prof. Naeem Ahmad Khan) โดยการตัดชื่อของมูฮัมหมัด ฮัมซะออกไป ส่งผลให้ ผู้ลงชิงตำแหน่งนายกองค์การนักศึกษาปีนี้มีแค่ ๔ คน จำนวนผู้ลงสมัครนายกดังกล่าว คือ ลียากัด คาน (Leyagat Khan), มูบัชชีร ยาม้าล ashir Jamal(Mu)มูฮัมหมัด อาลี มุรตาซา (Muhammad Ali Murtaza)และ สุดท้าย คือ อับดุลเลาะ อัซซัม (Abdullah Azzam)
การเปิดเวทีให้นักการเมืองในมหาวิทยาลัยได้ออกมาแสดงจุดยืนและนโยบายทางการเมืองเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษา ได้กลายเป็นประเด็นที่หลายคนให้ความสำคัญ ซึ่ง ผู้ลงสมัครได้รับเกียรติให้ขึ้นปราศรัยและปาฐกถาพิเศษก่อนการเลือกตั้งประมาณ ๒ วัน และประเด็นหลัก ๆ ที่ผู้ปราศรัยหาเสียในการชูจุดยืนนั่นก็คือ
"วิพากษ์ระบบการทำงานของมหาวิทยาลัยและคณะผู้บริหาร รวมถึงรองอธิการบดี ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการเมืองในการหาฝ่ายที่ให้การยอมรับและสนับสนุนฐานเสียงของตัวเอง แต่ก็ไม่ใช่น้อยสำหรับการหาเสียงในรูปแบบดังกล่าวเป็นการตัดฐานเสียงของตัวเองไปโดยปริยาย"
เช้าวันเลือกตั้ง วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ ภาพ บรรยากาศในมหาวิทยาลัยคึกคัดไปด้วยผู้คนและผู้มีสิทธิออกเสียงที่คอยมาใช้สิทธิ์ของตัวเองในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวที่จัดขึ้นในรอบปี ซึ่งหน่วยเลือกตั้งขนาดใหญ่แบ่งออกเป็น ๑๔ เขตเลือกตั้งด้วยกัน คือ คือ หน่วยเลือกตั้งแต่ละคณะ ซึ่งในบัตรเลือกตั้งจะประกอบไปด้วย
ผู้สมัครนายกองค์การนักศึกษา (Presidentship) จำนวนทั้งสิ้น ๔ ท่าน เช่น ลียากัต คาน (Leyaqat Khan) นักศึกษาปริญญาเอก จากภาควิชารัฐศาสตร์ หรือ อับดุลลอฮฺ อัซซัม(Abdullah Azzam) นักศึกษาปริญญาตรี จากภาควิชากฎหมาย หรือ มูบัชชีร ยามาล (Mubashshir Jamal) นักศึกษาปริญญาโทจากภาควิชาภาษาอังกฤษ
ผู้สมัครรองนายกองค์การนักศึกษา (Vice-Presidentship) จำนวน ๓ ท่าน เช่น ซัยยิด อาวิช(Sayed Avesh) นักศึกษาปริญยาโทจากภาควิชาภาษาศาสตร์ หรือ อับดุลมูอีส อันซอรี (Abdul Mueed Ansari) นักศึกษาปริญญาโทจากภาควิชาสังคมสงเคราะห์
ผู้สมัครเลขานุการองค์การนักศึกษา (Hony. Secretaryship) จำนวน ๒ ท่าน เช่น มูฮัมหมัด อนัส (Mohammad Anash) นักศึกษาปริญญาเอก คณะสังคมศาสตร์
ผู้สมัครตำแหน่งคณะกรรมการองค์การบริหารองค์การนักศึกษา (Cabinet Membership) จำนวน ๑๓ ท่าน เช่น วาซีล คาน (Vaseel Khan) นักศึกษาปริญญาโทภาควิชาศึกษาศาสตร์ หรือ มูฮัมหมัด อารีฟุล ฮัก (Muhammad Areful Haque) นักศึกษาปริญญาโท อับดุลลอฮฺ อิมรอน (Abdullah Imron) นักศึกษาภาควิชาพาณิชศาสตร์ ซัดดัม ฮุเซน (Saddam Husen) นักศึกษาปริญญาโทภาควิชาสังคมวิทยา หรือที่โดดเด่นที่สุดจากผู้สมัคร คือ ผู้เข้าชิงกรรมการองค์การนักศึกษาที่เป็นผู้หญิงจากตัวแทนนักศึกษาผู้หญิงกว่า ๑๐,๐๐๐ คน คือ กิชกาชาน คานาม (Kehkashan Khanam) นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาศาสนศาสตร์
ผู้ลงสมัครสภานักศึกษาจากคณะต่าง ๆ (Faculty Court membership) ที่ได้ส่งผู้สมัครเข้าลงแข่งขัน เช่น สภานักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ (Court membership) จำนวน ๕ ท่าน เช่น มูฮัมหมัด อิมรอน อาลี (Muhammad Imran Ali) นักศึกษาปริญญาโทจากภาคชาประวัติศาสตร์ อาชาน คาน (Arshan Khan) นักศึกษาปริญญาโทภาควิชารัฐศาสตร์ หรือ มูฮัมหมัด ไฮเดอร์ (Muhammad Haider) นักศึกษาปริญญาตรีภาควิชาภูมิศาสตร์ หรือ ซัลมาน คาน (Salman Khan) นักศึกษาภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศ
ส่วนคณะอื่น ๆ มีการส่งผู้เข้าร่วมการเลือกตั้งดังกล่าวในนามสภานักศึกษาสังกัดคณะดังต่อไปนี้
คณะเกษตรศาสตร์จำนวน ๔ ท่าน / คณะศาสนศาสตร์จำนวน ๓ ท่าน / คณะศิลปะศาสตร์ จำนวน ๓ ท่าน / คณะพาณิชศาสตร์ จำนวน ๕ ท่าน / คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน ๒ ท่าน / คณะกฎหมายจำนวน ๒ ท่าน / คณะวิทยาศาสตร์สิ่งมีชิต จำนวน ๒ ท่าน / คณะบริหารและวิจัย จำนวน ๓ ท่าน / คณะแพทย์ จำนวน ๒ และคณะแพทย์แผนทางเลือกจำนวน ๒ ท่าน
จำนวนนักศึกษาทั้งหมดที่ได้ลงสมัครชิงตำแหน่งต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยทั้งหมด ๕๕ ท่าน และในวิทยาลัยผู้หญิง (Abdulla’s Woman College)กว่า ๒๐ ท่าน เฉพาะผู้สมัครในการลงเลือกตั้งผ่านระบบการเมืองในมหาวิทยาลัยมีมากกว่า ๗๐ ท่าน ซึ่งนับเป็นระบบการเมืองที่ทรงอิทธิพลและใหญ่พอสมควรใต้ฐานเสียงผู้มีสิทธิเลือกตั้งกว่า ๓๐,๐๐๐ คน ผ่านระบอบประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับประเทศอินเดีย
สำหรับการเมืองในใหญ่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งในวิทยาลัยสามารถมี นายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษาโดยเฉพาะและรองนายกองค์การฯ / เลขานุการ และคณะกรรมการบริหารองค์การนักศึกษาจำนวน ๑๐ ท่าน
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ของมหาวิทยาลัยตัวแทนผู้หญิงเพียงคนเดียวในการลงสมัครกรรมการองค์การนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยในปีนี้ คือ กิชกาชาน คานาม (Kehkashan Khanam) การเมืองของผู้หญิงในรั้วมหาวิทยาลัยได้เริ่มมีการหันมาสนใจตั้งแต่ปี ๒๐๑๑ ซึ่งหนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกองค์การบริการองค์การนักศึกษานั่นก็คือ อัสมา เป็นผู้หญิงคนแรกที่ตัดสินใจเข้าวงการการเมืองในมหาวิทยาลัยด้วยการทำลายสถิติ ๑๒๖ ของประวัติศาสตร์การเลือกตั้งซึ่งไม่มีผู้หญิงเข้ามาลงสมัครเพื่อชิงตำแหน่งเลยแม้แต่คนเดียว โดยให้เหตุผล ว่า
“ถึงเวลาที่ผู้หญิงต้องออกมาเขียนประวัติศาสตร์ในรั้วมหาวิทยาลัยให้กับตัวเอง เพราะ การเมืองที่เป็นอยู่ ผู้หญิงมักโดนกีดกันเรื่องสิทธิเสรีภาพของพวกเขาเสมอ”
สำหรับการเลือกตั้งในวิทยาลัยผู้หญิง(Abdulla’s Woman College)นั้น ให้แยกออกจากการเลือกตั้งใหญ่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งในวิทยาลัยสามารถมี นายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษาโดยเฉพาะและรองนายกองค์การฯ / เลขานุการ และคณะกรรมการบริหารองค์การนักศึกษาจำนวน ๘ ท่าน
ซึ่งผู้สมัครในระดับปริญญาตรีตั้งแต่ ๑๗-๒๒ ปี ระดับอนุปริญญา ไม่เกิน ๒๔ ปี / ระดับปริญญาโทไม่เกิน ๒๕ ปี / ระดับปริญญาเอกไม่เกิน ๓๐ ปี ซึ่งผู้สมัครเลือกตั้งต้องไม่ลงตำแหน่งทับซ้อน ไม่มีคดีอาญา ไม่เป็นนักศึกษาทางไกลและนักศึกษาภาคสมทบ ผู้ลงสมัครต้องมีคะแนนเข้าเรียนไม่ต่ำกว่า ๗๕ เปอร์เซ็น
อามาจิต ซิง บินดรา (Amarjeet Singh Bindra) หนึ่งอดีตผู้นำองค์การบริหารองค์การนักศึกษา ได้บอกว่า “การเมืองในมหาวิทยาลัยสมัยปี 1957 เป็นการเมืองที่ขับเคลื่อนในมหาวิทยาลัยอย่างจริงจังเพื่อผลประโยชน์ของนักศึกษา เช่นการสร้างอาคารต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา แต่ปัจจุบัน การเมือง ใน มหาวิทยาลัย คือ ผลประโยชน์ที่ได้รับไปสู่ตลาดการเมืองอย่างวงกว้างและเป็นประตูไปสู่การเมืองระดับประเทศ ซึ่ง ผลที่ตามมานั่นก็คือ การเข้ามาของนักการเมืองอิทธิพลในเวทีการเมืองของประเทศเพื่อสนับสนุนกลุ่มนักศึกษา"
นี่คือ ความยิ่งใหญ่ของระบบการเมืองและการวางฐานแห่งระบอบประชาธิปไตยผ่านการเมืองในมหาวิทยาลัยที่เราได้รับทราบ และเห็นผ่านป้ายประชาสัมพันธ์ที่เข้มข้น ระบบการเข้าหาผู้เลือกตั้งอย่างถึงลูกถึงคนด้วยการโทรหา มาพบปะและการเข้าเยี่ยมในแต่ละบ้านพักอย่างตั้งใจ หนึ่งในนั้นคือพักพวก เพื่อนพ้องและระบบการเมืองของประเทศที่มีเบ้าหลอมแห่งระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและเข้มข้น
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ การเมืองระดับชาติเข้มแข็งและทรงพลังไม่แพ้กัน
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.amu.ac.in/newdata/depttmom/8101.pdf
หมายเหตุ
ผู้เขียนกำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยมุสลิมอาลิการ์ เมืองอาลิการ์ ประเทศอินเดีย