Skip to main content

บันทึกการเดินทางจาก ปัตตานีสู่ ปีนัง ตอนที่ 3

               วันนี้วันที่ 1 มกราคม 59 รับฟ้าใหม่ของวันปีใหม่ โดยวันนี้เป็นวันสุดท้ายของการอยู่ปีนัง ซึ่งช่วงเช้าก็ไม่ได้มีอะไรมาก เพียงแค่เก็บตกสถานที่ใกล้ๆโรงแรม เพราะได้มีการนัดกับรถตู้มารับที่โรงแรมเวลา 12.00 น. โดยคราวนี้เราจะเดินจากฝั่งขวาของโรงแรม ซึ่งเดินไปประมาณ ห้าก้าวจริงๆ ก็เจอวัดจีน อยู่ใกล้กับโรงแรม ออ! เช้านี้เราออกสำรวจเช้ากว่าปกติ สังเกตได้จากบรรยากาศ นอกโรงแรมเหมือนตอนหกโมงเช้าบ้านเรา โดยข้างๆโรงแรมจะมีร้านติ่มซำของพ่อค้าคนจีน ซึ่งจะมีลูกค้าทั้งคนในโรงแรมและ คนละแวกสายนั้นเข้ามาอุดหนุน ส่วนเราก็เดินสำรวจต่อไป

คำตัดสินคดีทนายสมชาย สะท้อนต้นทางของกระบวนการยุติธรรมไทยและปัญหาความไม่เป็นธรรมชายแดนใต้

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก  ดินอะ) 

 

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

ASEAN: น้ำนิ่งอย่าคิดว่าไม่มีฝูงปลา (แหวกว่าย)

 

สุรชัย (ฟูอ๊าด) ไวยวรรณจิตร[1] / มูฮำหมัดราพีร์ มะเก็ง[2]

“เราต้องมองสถานการณ์จากความเป็นจริง มิใช่มองอย่างที่เราอยากให้เป็น” ผู้เขียนขอเริ่มต้นด้วยการชวนขบคิดถกเถียงสิ่งที่เชื่อว่าหลายคนคงจะเกิดคำถามขึ้นในใจอยู่บ้างว่าทำไมผ่านมาหนึ่งสัปดาห์แล้ว คำว่า “ASEAN” ไม่เห็นจะมีอะไรให้ชวนติดตามและน่าตื่นเต้นเลย ไหนว่า เราเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วในปีนี้

ฐานข้อมูล DSID: การวิเคราะห์ข้อมูลเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบปี 2558

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
ผู้อำนวยการ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้
ผู้อำนวยการ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มอ.ปัตตานี
 
สุภาภรณ์ พนัสนาชี 
คณะทำงานฐานข้อมูลเหตุการณ์ชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
 
หมายเหตุ: ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

 

ฐานข้อมูลเหตุการณ์ชายแดนภาคใต้: ปฐมบทของระบบข้อมูลเพื่อสันติภาพ

12 ประเด็นเด่นปี 2558 ในเวทีสาธารณะชายแดนใต้/ปาตานี

อิมรอน ซาเหาะ
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

 

ชายแดนใต้หรือปาตานี นับเป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งและความรุนแรงยึดเยื้อเรื้อรังมาอย่างยาวนาน แต่ก็เป็นพื้นที่มีการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคมที่มีความคึกคักไม่น้อย การจัดงานบรรยายหรือเวทีเสวนาสาธารณะที่น่าสนใจได้ถูกจัดขึ้นเกือบจะทุกสัปดาห์ก็ว่าได้ โดยตลอดปี พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา มีหลากหลายเวทีที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เขียนได้ประมวลออกมาเป็น 12 ประเด็นเด่นๆ ดังต่อไปนี้

00000

บันทึกการเดินทางจาก ปัตตานีสู่ ปีนัง ตอนที่ 2

                            เช้าวันที่ 31 ตื่นก่อนเพื่อนในห้องเสียอีก อันนี้ไม่แน่ใจว่าอาการตื่นเต้นที่จะได้เที่ยว หรือ เป็นเพราะอาการนอนไม่หลับตั้งแต่เมื่อคืน รีบลงจากเตียงแล้วอำลาและขอบคุณเรื่องที่นอน กับหยก และการ์ตูน แล้วรีบจัดการเรื่องที่นอน ไม่ให้ผิดสังเกต กลัวแม่บ้านจะมาตรวจ จับได้ว่ามีคนอื่นมานอน จัดที่นอนเสร็จสับก็เดินเข้าไปในห้องตัวเอง แบบเงียบที่สุด  ผู้ชายที่พักอีกคนน่าจะเพิ่งกลับ เพราะก่อนที่จะออกจากห้องเมื่อคืนเห็นแต่ ฝรั่ง แต่อีกคนคงไม่ใช่ฝรั่ง เพราะฝรั่งที่พบเจอทั่วไป มักจะ ขาว แล้วชายสองคนนี้ ก็ยังไม

สันติภาพของฉันอยู่ตรงไหน?

   …. สันติภาพของฉันอยู่ตรงไหน? เสรีภาพของฉันมันมีไหม? “ขอร้อง” ได้โปรดหันมาฟังเสียงชนรากหญ้าอย่างฉันบ้าง! ฉันเป็น“เหยื่อ” ฉันมีสิทธิอะไร ? หรือวันนี้ฉันเป็นได้เพียงแค่ ต้นหญ้า ที่มีใครต่อใครเข้ามาเหยียบย่ำไปวันๆ อยู่บนหลังของฉันได้ ฉันล้ม ฉันตาย ฉันเจ็บป่วย มันก็มีค่าเท่ากันใช่หรือไม่! ชีวิตชนชั้นรากหญ้าอย่างพวกฉันที่นี่มันไร้คุณค่าถึงขนาดนั้นเลยหรือ??  ไหน! ที่ใครๆก็มักจะพูดว่ารัฐมีหน้าที่ต้องปกป้องสิทธิมนุษยชนตามกฎหมาย รัฐต้องดูแลสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าชนชั้นนั้นจะอยู่ภายใต้การปกครอง หรืออยู่ในสถานะผู้ที่ถูกปกครองก็ตาม

บันทึกการเดินทางจาก ปัตตานีสู่ ปีนัง ตอนที่ 1

วันหยุดนี้ไปไหนดีหว้า ไปไหนดี ไปไหนดี คีรีวง พัทลุง ตรัง ปีนัง หรืออยู่บ้านเฉยๆ ตัวเลือกในห้าวันที่ผ่านมา เยอะมาก กับการที่จะไปเที่ยวเล่น เรื่อยๆ จนสุดท้าย คำตอบอยู่ที่ช้อย ปีนัง อาจจะเป็นเพราะเป็นสถานที่ที่อยู่ในช้อยตัวเลือกของการพิชิตฝันที่ต้องไปเยือนสักครั้ง บวกกับรีวิวปีนังเยอะมาก เลยต้องพิสูจน์ว่า ปีนัง ที่เขาล่ำลือ มีอะไรดีมากกว่ารีวิวหรือเปล่า

วันที่ 28 ธันวาคม 2558 ทำการจองตั๋วรถตู้กับบริษัท k.s.t หาดใหญ่ โดยทำการจองในรอบ บ่ายสาม จุดนัดพบ หน้า เซเว่น บขส หาดใหญ่ ในวันที่ 30 ธันวาคม 58

โพล (Poll): เครื่องมือในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ

สุวรา แก้วนุ้ย
อาจารย์นักวิจัย สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD)
 

ส่วนที่ 1: ทำความรู้จัก “โพล (Poll)”        

เมื่อได้ยินคำว่า “โพล” หลายคนคงมีความสงสัยและตั้งคำถามว่า โพลคืออะไร? ทำโพลไปทำไม? ใครควรเป็นผู้ทำโพล? ประเด็นที่ทำโพลมีอะไรบ้าง? และมีวิธีทำโพลอย่างไร? หรืออีกหลายคำถามที่อาจจะเกิดขึ้น หากทำความเข้าใจง่ายๆ สามารถสรุปประเด็นต่างๆ ได้ ดังนี้