Skip to main content

ชุมคน ชุมชน คนใต้: สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตที่ควรจะเป็น

29 มิ.ย. 2559 ในงาน “จับปลาต้องลงน้ำ: 30 ปี กับบทเรียนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนภาคใต้” ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา บนเกาะยอกลางทะเลสาบสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา โดยจะมีนักพัฒนาเอกชน (NGOs) แกนนำชุมชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการ นักศึกษา ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศิลปินเพื่อสังคม สื่อมวลชนในภาคใต้ และส่วนหนึ่งจากทั่วประเทศเข้าร่วมประมาณ 300 คน

วัฒนธรรมเรียกร้องสิทธิ กลไกสร้างสันติภาพชายแดนใต้

เนื่องในวันครบรอบ 3 ปีการพูดคุยสันติภาพ 28 กุมภาฯ องค์กรภาคประชาสังคมร่วมกันจัดงาน “วันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานีครั้งที่ 3 และสมัชชาสันติภาพ 2016” ที่ ม.อ.ปัตตานี ชูแนวคิด “สันติภาพเดินหน้า” (Peace Moving Forward) เปิดโอกาสทุกฝ่ายบนโต๊ะพูดคุยรายงานความคืบหน้าต่อสาธารณะ พร้อมรับ “วาระสันติภาพจากพื้นที่” (Agenda Damai Dari Rakyat) เป็นวาระในกระบวนการพูดคุยสันติภาพ

ภาคประชาสังคม ประชาคมอาเซียน และสันติภาพ : โอกาสที่มากกว่าแค่คำว่า “ท้าทาย”

เขียนโดย ฟูอ๊าด (สุรชัย)  ไวยวรรณจิตร
ผู้บริหารโรงเรียนเร๊าะห์มานีย๊ะห์ อ.จะนะ จ.สงขลา
นักศึกษาปริญญาเอก เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

บทบาทภาคประชาสังคมที่หายไป?

นับจากวันที่28กุมภาพันธ์2556 ตัวแทนรัฐไทยได้ลงนามในข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับผู้คนที่มีความคิดเห็นและอุดมการณ์แตกต่างจากรัฐ โดยมีประเทศมาเลเซียทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ซึ่งในครั้งนั้นภาคประชาสังคมมีบทบาทอย่างชัดเจนในคณะการพูดคุยเพื่อสันติภาพ แต่ถึงตอนนี้เริ่มเกิดคำถามว่า บทบาทของภาคประชาสังคมหายไปไหน

Winning hearts and minds ที่บ้านแยนะ สะแลแม

รถขนาดปิ๊คอัพบรรทุกทหารสองคันถอยเข้าจอดที่ถนนแคบๆหน้าปากซอยเข้าบ้านของแยนะ สะแลแม - “ก๊ะแยนะ” หรือป้าแยนะ นายทหารที่เดินนำหน้าเป็นผบ.จากหน่วยฉก.นราธิวาส 31 ขณะที่พวกเขาเดินเข้าสู่ตัวบ้านและนั่งลงพูดคุยกับเจ้าของบ้านนั้น ทหารนาวิกโยธินอีกสามสี่นายก็แยกย้ายกันออกไปยืนคุมเชิงเฝ้าระวังสถานการณ์อยู่ที่ด้านนอกของหน้าต่าง

มูฮัมหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะกับคำพิพากษาว่าเป็น บีอาร์เอ็น

      การรณรงค์ของคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งกำลังก่อตัวขึ้นในปัตตานี เพื่อแสวงหาอิสรภาพให้กับนักกิจกรรมในพื้นที่ภาคใต้คนหนึ่ง หลังจากที่ศาลฎีกาที่ปัตตานีอ่านคำพิพากษาคดีของนายมะกอรี ดาโอะกับคนอื่นๆอีก 7 คนเมื่อ 1 พค. ที่ผ่านมา ซึ่งหนึ่งในบรรดาจำเลยเหล่านี้ที่ถูกศาลตัดสินรับโทษจำคุกคนละ 12 ปีนั้นปรากฎชื่อของมูฮัมหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะหรือที่รู้จักกันในนาม อันวาร์ รวมอยู่ด้วย