Skip to main content

ย้อนรอยวัน "สื่อ" ทางเลือกชายแดนใต้ครั้งแรก

 

ย้อนรอยวัน "สื่อ" ทางเลือกชายแดนใต้ ครั้งที่ 1: 2011

ฐิตินบ โกมลนิมิ
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

สื่อชายขอบกับการเปิดพื้นที่เพื่อสร้างสันติภาพ

           สื่อทางเลือกในพื้นที่ความขัดแย้งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เวลาจับเข่าแลกเปลี่ยนปัญหาหลายคนพบว่าวิทยุและอินเตอร์เนทครองพื้นที่สำคัญในการถกเถียงทางการเมือง เป็นสื่อของคนต่างกลุ่มแต่ตอบโจทย์คนในพื้นที่ได้ดีกว่าสื่อส่วนกลาง สรุปบทเรียนว่าการเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายต้องยึดโยงข้อเท็จจริง ไม่ตีความเกินข้อมูล เสนอความเห็นที่ยึดหลักสามัญสำนึกไม่ใช้อารมณ์เกินเหตุ ปัญหาใหญ่ที่แก้ยากคือการเปิดพื้นที่ให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐเจอแรง

มูฮัมหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะกับคำพิพากษาว่าเป็น บีอาร์เอ็น

      การรณรงค์ของคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งกำลังก่อตัวขึ้นในปัตตานี เพื่อแสวงหาอิสรภาพให้กับนักกิจกรรมในพื้นที่ภาคใต้คนหนึ่ง หลังจากที่ศาลฎีกาที่ปัตตานีอ่านคำพิพากษาคดีของนายมะกอรี ดาโอะกับคนอื่นๆอีก 7 คนเมื่อ 1 พค. ที่ผ่านมา ซึ่งหนึ่งในบรรดาจำเลยเหล่านี้ที่ถูกศาลตัดสินรับโทษจำคุกคนละ 12 ปีนั้นปรากฎชื่อของมูฮัมหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะหรือที่รู้จักกันในนาม อันวาร์ รวมอยู่ด้วย 

เชิญสื่อทางเลือกสอบ เสร็จแล้วขอเก็บดีเอ็นเอ

หมายเหตุ:  อนุสนธิจากการที่มีการเชิญตัวสมาชิกกลุ่มสื่อทางเลือกในพื้นที่ไปสอบปากคำโดยจนท.ทหารเมื่อต้นสัปดาห์สุดท้ายของเดือนนี้ ได้มีการอัพเดทข้อมูลในโซเชี่ยลมีเดีย ข้อความข้างล่างยกมาจากโน้ตที่โพสต์ในเฟสบุค

อัพเดทกรณีทหารเชิญคนทำสื่อ ซาฮารี เจ๊ะหลง ไปสอบ

by Noi Thamma   on Thursday, 26 July 2012 at 20:13

คำเตือน เนื่องจากมาจากเฟสบุค ภาษาอาจเป็นกันเองมากไป