Skip to main content

ศาลปกครองรับฟ้องคดีที่สองในกรณีชาวบ้านถูกวิสามัญฆาตกรรมที่บ้านสะแนะ นราธิวาส

เผยแพร่ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558                            

ศาลปกครองรับฟ้องคดี โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แก่ญาติผู้ตาย เป็นคดีที่สอง

ในกรณีชาวบ้านถูกวิสามัญฆาตกรรมที่บ้านสะแนะ นราธิวาส

ศาลยกฟ้องผู้ต้องหาคดียิงครอบครัว‘มะมัน’เนื่องจากไม่มีประจักษ์พยานยืนยัน

อสนียาพร นนทิพากร

จากเหตุการณ์เมื่อค่ำคืนวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 กรณีเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนสงครามเอ็ม 16, อาก้า และปืนพกขนาด 9 มม. กราดกระสุนใส่สมาชิกครอบครัวมะมัน ส่งผลให้เด็กชายสามพี่น้องเสียชีวิตอย่างน่าสลดใจ เหตุเกิดขึ้น  ณ บ้านเลขที่ 143/4 หมู่ 7 บ้านปะลุกาแปเราะ ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส โดยนายเจ๊ะมุ มะมัน บิดา บาดเจ็บเล็กน้อย น.ส.พาดีละห์ แมยู มารดาได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วนบุตรชายทั้งสามคือ ด.ช.อิลยาส มะมัน อายุ 6 ปี, ด.ช.บาฮารี มะมัน อายุ 9 ปี และ ด.ช.มูยาเฮด มะมัน อายุ 11 ปี ต้องสังเวยชีวิตให้กับคมกระสุน

ยกฟ้อง 2 อดีตทหารพราน สะเทือนถึงการพูดคุยสันติสุข

เมื่อไม่นานมานี้ เกิดเหตุคาใจคนในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ กรณีศาลจังหวัดนราธิวาส อ่านคำพิพากษาเมื่อวันจันทร์ที่ 26 ม.ค.58 ยกฟ้องอดีตทหารพราน 2 นายในคดียิงเด็ก 3 ศพ ตระกูลมะมันที่บ้านบลูกาแปเราะ อ.บาเจาะจ.นราธิวาส ทำให้สังคมสาธารณะทั่วไปที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่มีปฏิกิริยาแบบต้องอึ้งและทึ่งในเวลาเดียวกันอย่างพร้อมหน้ากันโดยไม่ต้องนัดหมาย เพราะคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้ว่าหลังจากที่อดีตทหารพรานทั้งสองคนดังกล่าวถูกทางตำรวจติดตามจับกุมได้และต่อมาก็ให้การรับสารภาพว่าเป็นผู้ก่อเหตุจริงนั้น ความเข้าใจตรงกันของทุกคนต่อฆาตรกรใจโหดเหี้ยมครั้งนี้ก็คืออดีตทหารพรานนั้นเอง

CSOs รุ่นใหม่ต้องมียุทธศาสตร์การขับเคลื่อนสังคมในพื้นที่ความขัดแย้ง

อิมรอน สาเหาะ
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)
 

เวทีเสวนา CSOs รุ่นใหม่ในหลักสูตรโรงเรียนประชาธิปไตยของวิทยาลัยประชาชน มูฮำหมัดอายุบ ปาทาน แนะทำงานชุมชนต้องมียุทธศาสตร์ อยากเห็นประชาสังคมรุ่นใหม่กล้าที่จะคิดแตกต่าง หาทางเลือกใหม่ๆ และไม่ใช้กำลัง ด้านเวทีเสวนาพลังคนหนุ่มสาวกับการขับเคลื่อนสังคมชี้คนรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้ทักษะและทุ่มเท

มุมมองของประชาชนชายแดนใต้ในเส้นทางของกระบวนการสันติภาพ

สุวรา แก้วนุ้ย
อาจารย์นักวิจัยสถานวิจัยความขัดแย้งและความลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มอ. ปัตตานี

 

ภาพรวมความคิดเห็นต่อกระบวนการสันติภาพ

            “...เมื่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างรัฐกับกลุ่มบุคคลที่มีความเห็น และอุดมการณ์แตกต่างซึ่งเลือกใช้ความรุนแรงต่อสู้กับรัฐ (กลุ่มบีอาร์เอ็น) ปรากฎขึ้นอย่างเปิดเผย ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเชื่อมั่นว่าการดำเนินการดังกล่าว จะทำให้เกิดสันติภาพจริงๆ ได้มากน้อยเพียงใด?”

ข้ามผ่านพันธนาการ

 
 
ต้นปีที่แล้ว ร้านหนังสือบูคูมีโอกาสเข้าไปทำงานที่เรือนจำหญิงเชียงใหม่
และได้พบปะกับผู้ต้องขังที่ชอบอ่านหนังสือหลายคน
เมื่อไม่นานก่อนหน้านั้น มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมเพื่อนคนหนึ่งที่เรือนจำชายปัตตานีที่เป็นนักอ่านตัวยงเช่นกัน
หลังจากเห็นความต้องการในการอ่านหนังสือของพี่ๆเพื่อนๆที่อยู่ในเรือนจำ
ความคิดเรื่องการหาหนังสือเข้าเรือนจำจึงเกิดขึ้น