ศุกร์เสวนา ครั้งที่ 3
เรื่อง สัญญาหน้าฝน..นครปัตตานี
ณ สำนักงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
วันที่ 20 พฤศจิกายน 52
คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
เปิดประเด็นโดย
ผศ.ชิดชนก ราฮิมมูลา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
มูฮำหมัดอายุบ ปาทาน ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South watch)
อับดุลอาซิส ตาเดอินทร์ ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (ยมท.)
อ.ชิดชนก
ในช่วงปี๔๗ ชวลิตได้เสนอนโยบายดอกไม้หลากสี ให้นายกทักษิณแต่ไม่ได้รบการตอบสนองจากรัฐบาล . ในปี๔๘ พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอคำประกาศปัตตานีแก่นายกทักษิณตามคำเชิญของนายกทักษิณที่แสดงความเป็นใจกว้างในการแก้ปัญหาภาคใต้ จนสนธิ บุณยรัตกลิ่น ได้ทำการปฏิวัติ ซึ่งมุ่งเน้นสลายแกนนำตามแผนแยกปลาออกจากน้ำ และมีการลงโทษเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดอย่างเคร่งครัด มาถึงรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ใช้นโยบายสมานฉันท์
รัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย ได้ให้ความสำคัญกับการเมืองส่วนกลาง ทำให้เงินลงมาในพื้นที่มาก ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมากที่สุดเกิดการคอรัปชั่นทุกรูปแบบ
เมื่อประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลกลับไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายได้เพราะมีการแบ่งขั้วกันเองภายในพรรคและได้ให้ความสำคัญกับทหารมากกว่าทำให้การจัดตั้ง สบ.ชต.ต้องเลือนออกไป
มูฮำหมัดอายุบ
ระบบการกระจายอำนาจที่ผ่านมาเราจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่ามีปัญหาตรงไหนที่เราจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง หากต้องการบริหารแบบใหม่ต้องอธิบายว่าแบบเก่ายังไม่ต้องสนองท้องถิ่น ศาสนา วัฒนธรรมอย่างไร? ความเห็นเหล่นี้เราจะต้องให้ชาวบ้านเป็นคนพูด ดังนั้นเราจะต้องเตรียมงานความรู้ งานความเห็นและงานความพร้อม ในการผลิตชุดความคิดของคนในพื้นที่ในการตอบคำถามของคนในพื้นที่ ไม่ใช่ความเห็นของคนนอกพื้นที่
นโยบายนี้โดนใจคนมลายูทั้งๆที่เนื้อหาสาระเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้ การนำศาสนาอยู่ภายใต้โครงสร้างใหม่ พื้นที่ทางศาสนาควรไปเกาะตรงไหน และหากมีโครงสร้างใหม่จะสามรถตอบโจทย์ ยุติความรุนแรงได้ไหม? ควรจะมีการศึกษาโมเดลให้ดี ไม่ใช่นำโมเดลแบบสำเร็จรูป ทุกพรรคการเมืองเสนอนโมเดลมาหมด เป็นการนำเสนอแบบระบบคิดจากภาครัฐแต่ไม่ใช่จากชาวบ้าน รัฐมีแนวคิดแบบจักรวรรดินิยม ในการสร้างระบบการกระจายอำนาจบนพื้นฐานจากปัญญาไม่ใช่จากความเห็นที่จะอธิบายให้คนภายนอกได้เข้าใจ
อับดุลอาซิส
หกปีที่ผ่านรัฐบาลได้ใช้ยาทุกแขนง และเรารู้แล้วว่าการใช้กำลังมันไม่ได้ผล ใช้งบประมาณมหาศาลให้เรียนฟรีทั้งในประเทศ ต่างประเทศให้อะไรต่อมิอะไร ทหารก็มาที่นี้มีเบี้ยเสี่ยงภัยข้าราชการก็ได้ ตรงนี้คือปัญหาที่จะต้องมาคำนวณต้นทุนของรัฐบาลในแง่เศรษฐกิจในแง่เศรษฐศาสตร์ แต่ในแง่ความมั่นคง ในแง่ความต้องการในแง่ของการกระจายอำนาจ ที่อยากจะพูดคือความจริงใจของรัฐบาล จากรัฐบาลไทยรักไทยทักษิณชินวัตร มาประชาธิปัติย์ตอนเป็นฝ่ายค้านท่านอยากจัดตั้งร่างปัตตานี ปฏิญาณปัตตานีสวยงามมาก ตอนนั้นกำลังหาเสียงผมอ่านอยู่ผมยังเก็บไว้อย่างดีอยู่เอามาอ่านทวนอีกครั้งได้ไหมให้รัฐบาลฟังอีกครั้งได้ไหมนี่คุณสัญญาประคมกับชาวบ้านว่าอย่างนี้ คุณทำกี่ข้อ ผมถามว่าตอนที่ชาวบ้านถูกจับไม่ว่าจะคดี กรือเซะ ตากใบ สส.เหล่านี้เข้ามาดูบ้างไหม ไม่มีครับ นี่พูดจริงๆ นี่พูดฟังธงเลยว่าไม่มีเลยครับ มีเมื่อตอนท่านชวนเรียก สส.ภาคใต้ประชุมกับท่านเจะอามิง โต๊ะตาหยง เป็นกรรมธิการความมั่นคงภาคใต้ ก็โอเค ในแง่ทางการ เป็นกรรมาธิการภาคใต้ดูแล แต่เพราะว่ากลัวกระแสของชวลิตจะฟีเวอร์เกินไปก็เลยมาตั้ง คณะทำงานโดยไม่ใช่จากรัฐบาลแต่เป็นจากในพรรคเอง เพราะว่าถ้ากระแสนี้ชาวบ้านตอบรับ นักวิชาการตอบรับ ประคมตอบรับ ประชาธิปัตย์จะตกบันไดเลย
รัฐบาลจะต้องแสดงความกล้าหาญ แค่ชวลิตออกมาพูดคำเดียวนี่ สุเทพตั้งรับแบบมวยวัด ตั้งรับไม่ถูกเลยนะ ชวลิตยังไม่ขยายความว่าตั้งนครปัตตานีแบบไหน สุเทพออกมาพูดเลยว่านี่เพ้อเจ้อ อัลไซเมอร์ ใช่ไหมครับ คือตั้งรับแบบไม่วิชาการอะไรเลย ตรงนี้คือขอบกพร่องของรัฐบาลแล้วก็การเมืองประเทศไทยเราก็รู้ว่าไปยุ่งเสื้อเหลืองเสื้อแดง ไปยุ่งกับการเมืองที่กรุงเทพ งบประมาณมหาศาลทุ่มไป กระบวนการยุติธรรมภาคใต้ ตากใบนี่ตายไปเจ็ดแปดสิบไม่มีคุณค่า ชีวิตคนหนึ่งตายเหมือนผักปลา เสื้อเหลืองตายสองคนเสื้อแดงตายสองคนที่กรุงเทพ ผบ.ตร ถูกปลด นี้มันอะไรกัน แล้วจะคิดยังไงไม่ให้ชาวบ้านคิดที่ผ่านมาไม่ได้ผลมัน ต้องใช้วิธีใหม่ วิธีใหม่ก็คือตอนนี้ ภาคประชาชนของเรา ๒๔ องค์กร ก็มานั่งคิดว่าเชิญอาจารย์ จากจุฬา ธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญที่ไปดูงานตางประเทศที่ เสียงบประมาณของพวกเราเป็นล้านๆมานั่งเขียนงานวิชาการส่งให้อ่าน เอาข้อสรุปเหล่านั้นมาดูจากสวีเดน นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ไปดูว่าโมเดลเหลานั้นมาประยุกต์ มาดัดแปลงมาใช้ในบ้านเราได้ไหม
ในขณะที่ปัญหาอีกอย่างที่ผมมองหนึ่งคือการกระจายอำนาจ ไม่ใช่เฉพาะภาคใต้นะ ทั่วประเทศ เขาเรียกว่าการกระจายอำนาจลวง อบต.อบจ นี้อำนาจไม่ Full option ส่งปลัดผู้ว่ามาคุมอีกงบประมาณได้นิดเดียว การกระจายอำนาจคือหัวใจของประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยของประเทศไทยนี้เลือกตั้งเสร็จแล้วก็จบ ประชาธิปไตยไม่ใช่การเลือกตั้งมันมีหลายรูปแบบ ประชาชนต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ฉะนั้นในอนาคตจะมีประชุมเกี่ยวกับนครปัตตานี อาเจะห์เขายังไงถึงสำเสร็จ ปัญหาปัจจุบันอยู่ตรงไหน
เมื่อเรามองภาพรวมมันมีปัญหาสะสมมาตลอดหลังการปฏิวัติกฎหมายตกอยู่ภายใต้กฎหมายความมั่นคงๆ ของใคร ความมั่นคงของรัฐบาล ไม่ใช่ความมั่นคงของประชาชน ภาคใต้เป็นเหยื่อของกฎหมายความมั่นคง หากเราวิเคราะห์ภายใต้ความเป็นธรรม รัฐบาลต้องกล้าหาญ ยอมรับเลยในปัจจุบันนอกจากที่จะต้องให้ประชาชนปกครองตนเองภายใต้รัฐธรรมนูญ ภายหลังชวลิตเสนอแนวคิดนครปัตตานีถูกต่อต้านอย่างหนักภายใต้ผลประโยชน์ของตัวเองโดยไม่มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นต้องแก้อย่างไร
ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นกับดักเลือกตั้งไปแล้วเสร็จ และนโยบายก็ติดอยู่กับนโยบายพรรค จริงแล้วมันไม่ใช่ ประชาชนต้องมีส่วนร่วม โดยการทำประชามติถามความเห็นของประชาชนในพื้นที่โดยก่อนที่จะทำประชามติต้องให้ประชาชนมีความรู้ก่อน
อ.ชิดชนก
ในฐานะนักวิชาการที่ไม่ใช่มลายู ท่านต้องหาผู้นำของท่านที่จะออกมาต่อสู้ ชนชั้นนำของท่านทำไมไม่ออกมาต่อสู้เพื่อชนชาติมลายู ท่านหาเจอหรือยัง? ทำไมชนชั้นนำไม่ทำงานเพื่อคนมลายู ทำไมท่านยังเลือกผู้นำที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางการเมือง อีกประการเสียงของประชาชนอยู่ตรงไหน ตายพอหรือยัง? ถูกจับพอหรือยัง ทำไมประชาชนไม่ออกมาต่อมาเรียกร้อง การเรียกร้องต้องให้ทุกองค์กรจะต้องแสดงจุดยืนร่วมกัน ทุกเวทีภาคประชาชนจะออกมาเรียกร้อง รัฐแต่ทุกคนมีผลประโยชน์เราต้องยอมรับบาดแผลของเราก่อน เราต้องการผู้นำที่เป็นนักต่อสู่ที่ไม่มีผลประโยชน์จึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้นำมุสลิมมีหลายคนมีบทบาทในองค์กรของรัฐทำไมไม่คัดค้าน นักศึกษาภาคใต้ที่จบไปแล้ว พลังปัญญาชนเหล่านี้อยู่ที่ไหน ไม่มีรัฐที่ไหนที่จะชนะเสียงของประชาชน การรวมตัวของท่านต้องมียุทธศาสตร์ร่วมในการเดิน
มูฮำหมัดอายุบ : ประเด็นนี้เป็นปกติ เมื่อใดที่ยังมีความอ่อนแอทางความคิด ความรู้ ความพร้อม นี้เป็นการวิพากษ์มลายูนี้ก็ยอมรับ เราต้องวิพากษ์ตัวเราเองด้วย ในรูปแบบการกระจายอำนาจสู่ประชาชน การปฏิรูป ภาครัฐต้องปฏิรูปควบคู่ไหม
อ.ชิดชนก: รัฐต้องปฏิรูปด้วยแต่มันช้า การต่อสู่ต่างๆในทั่วโลกมาจากการต้อสู้ กว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
มูฮำหมัดอายุบ: นั้นแสดงว่าภาคประชาชนกับภาครัฐจะต้องเดินควบคู่กัน
อ.ชิดชนก: มีองค์กรอิสระ ในพื้นที่เยอะมาก ทำไมไม่ออกมาเดินร่วมกัน
มูฮำหมัดอายุบ: ณ.วันนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เช่นกลุ่มเยียวเริ่มพูดถึงยุทธศาสตร์ของตังเอง ประเด็นที่สำคัญหากเรายังไม่เข็มแข็งเป็นเรื่องอยากที่จะต่อรองทุกวันนี้องค์กรข้างนอกอยากจะช่วยให้องค์เราเข็มแข็ง
อ.ชิดชนก: ทุกกลุ่มต้องเห็นว่าต้องมีประเด็นร่วมว่านครปัตตานีทุกกลุ่มยอมรับ ถ้าทุกคนเห็นว่าเป็นประเด็นนำร่องที่จะเดินยุทธศาสตร์ร่วมกัน จะได้มีอะไรมายึดโยงกัน
มูฮำหมัดอายุบ: เดียวนี้เริ่มเห็นจาก๒๔ องค์กร แต่หลักของเขาคือการให้ความรู้เพื่อไม่เกิดความเข้าใจผิดต่อภาครัฐ ให้ความรู้กับประชาชนให้เข้าใจว่าการะจายอำนาจภายใต้รัฐไทย สามรถทำได้
อับดุลอาซิส: ที่ อ.มองยอมรับว่าเป็นความจริงเราถามว่าทำไม ๑๐ปีที่ผ่านก็เลือกคนเดิมเป็นผู้นำ(สส.) เราต้องมองที่ระบอบประชาธิปไตยบ้านเรา มันไม่เปลี่ยนแปลงตรงนี้ การเขียนรัฐธรรมนูญตรงนี้ถูกล็อคเสป็คมาแล้ว เราถามว่าทำไมไม่มีการรวมกลุ่มในช่วง ๔-๕ ปีที่นี้เกิดภาวะความหวาดกลัว และเดียวนี้คนใต้ก็รับเงินแล้วนะสมัยก่อนนี้คนใต้อุการณ์นี้เข้มข้น(ไม่ขายเสียง) นี้คือระบบการปกครองต้องแก้ตรงนี้ แม้แต่โต๊ะครูไม่เห็นด้วยกับการกระจายอำนาจเพราะว่าถ้าปกครองกันเองจะเอาเงินมาจากไหนในการบริหารจัดการ การศึกษาในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนการศึกษาเป็นธุรกิจหมดแล้วมีค่าหัวค่านู้น ค่านี้ และโต๊ะครูต้องเกาะการเมือง .เราพยายามให้ความรู้กับประชาชนเป็นกลุ่มน้อยๆ
มูฮำหมัดอายุบ: เราในฐานะปัญญาชนเวลาเรามองการวิพากษ์เราต้องมองทางออก เราต้องหาประเด็น เราจะทำยังไงที่จะหนุนเสริม ให้เข้มแข็งอันนี้เป็นหลัก เราจะหนุนเสริมเราจะรับตัวเองว่าเราอ่อนแอ ไม่ใช่จะมองมองว่ามันไม่มีทางออก ตอนนี้ ๕ ปีมานี้มันน่าเบื่อ ย่ำอยู่กับที่มันไม่ผ่าน ประเด็นที่มันไม่ผ่านมีอยู่สองอย่าง หนึ่งคือเราเองอ่อนแอ รัฐก็ไม่ยอมเปลี่ยน เมื่อเราอ่อนแอเราก็ต่อรองอะไรไม่ได้เพราะรัฐมันแข็ง อีกอย่างคือในสังคมมุสลิมเองงานวิชาที่จะตอบโต้เรื่องนี้ยังมีน้อยที่จะบอกว่าควรเป็นอย่างนี้ๆ ผมว่ามีเงือนไขสงครามในพื้นที่อยู่สองอย่างถ้าไม่มีการอธิบายให้มันชัดว่ามันจะเป็นเงือนไขไปตลอด อันหนึ่งก็คือ การกระจายอำนาจ ถ้ามันไม่ลงตัวมันจะเกิดปัญหายังนี้ไปตลอด อันที่สอง อันนี้ผมว่าสำคัญใครจะปฏิเสธว่าอะไรก็ช่างว่าเงื่อนไขทางศาสนา ก็เป็นประเด็นในพื้นที่ ฉะนั้นจะต้องอธิบายว่าคุณมีสิทธิจริงๆนะ คุณทำได้จริงๆ สองอย่างนี้ต้องอาศัยนักการด้านรัฐศาสตร์ วิชาการด้านศาสนามาผสมกัน
คำถามจากผู้เข้าร่วม: ผมตั้งข้อสังเกตอุดมการณ์ที่แตกต่าง เราจะขับเคลื่อนอย่างไรให้มันเดินในทิศทางเดียวกัน อีกอย่างความเป็นในโลกสมัยใหม่ที่คนมลายูต้องการนครปัตตานี คนมลายูยอมรับความเป็นโลกสมัยใหม่ ในการปกครองได้มากน้อยแค่ไหน เช่นเสียงของคนไทยพุทธเป็นอย่างไร ผมว่าเขาคิดต่าง เมื่อเป็นนครปัตตานีต้องมีถูกใช้ กฎหมายซารีอะห์ ผมว่าคนที่ผลักดันเรื่องนี้จะต้องตอบโจทย์เรื่องนี้อย่างไร
อับดุลอาซิส: เราก็มีการคุยกันนะ พอชวลิต โยนไฟนครปัตตานี คนทั้งประเทศก็รับไม่ได้ หากใช้กฎหมายซารีอะห์ต้องถูกต่อต้านอย่างหนัก ตรงนี้เตอบโจทย์แล้วว่าการกระจายอำนาจ กฎหมายอิสลามบังคับใช้มานานแต่มีการใช้เฉพาะกฎหมายครอบครัว ผมว่าคนพุทธภายใต้การปกครองของมุสลิมน่าจะเกิดสันติสุข เรามาร่วมมือกันคนพุทธกันคนมุสลิมร่วมสร้างแผ่นดินธรรมเป็นดินทองผมว่าเราน่าจะมีความสุข
มูฮำหมัดอายุบ: เวลาเราดูการเมืองการปกครองเราจะต้องดูทั้งระบบดูทั้งโครงสร้างไม่ใช่ว่าเราดูคนสองนี้มันไม่ได้เรื่อง
อับดุลอาซิส: คือตอนนี้การต่อสู้ยึดโดยขบวนการ ที่ต้องการรัฐอิสลาม ชาวบ้านจริงเข้าต้องเพราะชาวบ้านอยู่ระหว่างเขาควายฝั่งหนึ่งเป็นขบวนการอีกฝั่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ
ผู้ดำเนินรายการ: ไม่ใช่ว่าเวทีวันนี้จะเป็นวันที่มีคำตอบแบบเบ็ดเสร็จ ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญก็คือ ความอดกลั้นต่อความเห็นต่างของคนที่คิดต่างจากเรา ไม่ใช่ว่าความเห็นของเราชนะคนอื่นอย่างเบ็ดเสร็จ สิ่งเหล่านี้เราจะอดกลั้นจะได้ไหม? คำถามสำคัญๆสำหรับข้อสงสัยต่างๆในการเสวนาครั้งนี้ คำตอบวันนี้ก็ยังไม่เบ็ดเสร็จ ยังไม่สมบูรณ์ แน่นอนก็สงสัยก็ต้องเกิดขึ้นเรื่อยๆ การสลายพรมแดนก็ต้องถูกตั้งคำถาม สิ่งที่พูดถึงGlobalizations ต้องถูกตั้งคำถามเหมือนกัน
ผมคิดว่าวันนี้เราก็ได้ร่วมใช้พื้นที่สาธารณะของคนธรรมดาหรือของคนในพื้นที่ในทิศทางของการให้สติกับสังคมไทยหรือสังคมมลายูเองต่อเรื่องต่างๆ อย่างไรก็ตามในสังคมสมัยใหม่การมีความขัดแย้งเป็นเรื่องปรกติ ความขัดแย้งในวันนี้เป็นเรื่องปกติ สิ่งที่เราต้องช่วยยับยั้งคือความรุนแรง ในวันนี้โจทย์ของเราร่วมกันก็คือจะต้องทำอย่างไรเพื่อหาทางออกให้มีความรุนแรงน้อยลงเท่าที่เราสามารถจะทำได้ อย่างน้อยพื้นที่สาธารณะอย่างนี้ก็สำคัญอย่างยิ่ง ในการจะช่วยกัยขบคิดโจทย์ที่สำคัญของสังคมในวันนี้....
จบ.