Skip to main content

 

การเดินทางและสันติภาพ

 

ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ

       

 

        ในช่วงวัย 20 ต้น ๆ ของชีวิตผม ผมได้อุทิศเวลาจำนวนมากในชีวิตในการถกเถียงกับชุมนุมของผู้คนทั้งในโลกความจริงและโลกออนไลน์ ความหมกมุ่นและมุ่งหวังจะเอาชนะทางความคิด เป็นสิ่งที่เมื่อมองย้อนกลับมาจากปัจจุบันแล้วมันถูกนับเป็นความก้าวร้าว และไม่นำความสงบสันติสู่ชีวิตจริง ๆ เสียเลย ผมมีจุดยืนทางการเมืองแบบอุดมคติระดับหนึ่ง มีจุดยืนทางความเชื่อศาสนาที่ต้องเผชิญหน้ากับคนเห็นต่างบ่อยครั้ง ความเข้มชัดของระดับความเชื่อถ้าเทียบเป็นเครื่องถ่ายเอกสารแล้วคงเป็นรุ่นขาวดำแบบหมึกผง ที่ถ่ายภาพได้แค่สองสี และภาพที่ได้ก็ไม่ได้ชัดเจนอะไรมากมากเสียด้วย

        ผมเริ่มออกเดินทางคนเดียว เพื่อทำความเข้าใจตัวเองภายใน การมองท้องฟ้า ต้นไม้ริมทาง ทุ่งหญ้า ทะเล คนเดียว ทำให้ตัวผมนั้นเข้าใจความสงบเงียบของธรรมชาติ การอยู่ของธรรมชาติอย่างสมดุลเป็นเรื่องที่น่าอิจฉา แม้ในระบบนิเวศเองจะมีการรบราฆ่าฟันกันบ้าง แต่หากไม่มีใครรบกวนสมดุลของธรรมชาติทุกอย่างจะอยู่ในร่องในรอยของระบบที่ทุกสรรพสิ่งอยู่ร่วมกันได้ ป่าที่มีเสือจำนวนพอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป จะไม่ทำให้กวางสูญพันธุ์ กวางที่มีจำนวนพอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป จะไม่ทำให้หญ้าหายไปจนหมดสิ้น หญ้าที่มีพอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไปจะทำให้ดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ ดินและน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ก็จะช่วยให้ป่าเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ความสมดุลเช่นนี้คือผลึกตะกอนที่ผ่านการปรับเปลี่ยนหาจุดร่วมกันของสรรพสิ่งมานานนับหมื่นนับแสนปี

        ผมเดินทางไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในโลก เพราะสนใจจะค้นหาคำตอบบางอย่างที่เกิดขึ้นกับอดีตของพื้นที่เหล่านั้น ซึ่งอดีตอย่างหนึ่งที่ทุกพื้นที่มีร่วมกันคือ สงครามและความขัดแย้ง ผมไปที่เขมร ซึ่งกลิ่นไอของสงครามกลางเมืองยังพอมีหลงเหลือให้เห็นบ้าง ความบ้าคลั่งในอุดมคติคอมมิวนิสต์ของพอล พต ที่เร่งปรับเปลี่ยนทุกอย่างที่มีอยู่ในสังคมให้เป็นอุดมคติคอมมิวนิสต์ในช่วงเวลาสั้น ๆ คือการทำ ลายสมดุลของสังคมครั้งยิ่งใหญ่ นำ มาซึ่งการฆ่า การนองเลือดของคนร่วมชาติที่ไม่เคยมีความโกรธแค้นใด ๆ กันมาก่อน และตามมาด้วยภาวะขาดกำลังผลิตของชาติที่ทำให้คนหลายล้านคนต้องตาย ผมเดินทางเข้าไปในอิหร่านเพื่อสำรวจความสูญเสียของอารยธรรมที่เคยเป็นที่หนึ่งในโลก แต่ความนำสมัย เช่นนี้นี่เองที่ดึงดูดผู้กล้า นักรบจากทั่วสารทิศเข้ามาชิงชัยความเป็นหนึ่งบาบิโลนในอดีตกอบโกยทุกความเป็นเลิศในดินแดนของตัวเอง ความมั่งคั่งของทรัพย์สิน สตรีที่งามกว่าที่ใด ๆ ในโลก ม้าสวย ๆ เรือกสวนไร่นาที่มีระบบชลประทานที่ดีเยี่ยม นำพานักรบต่างชาติที่มีความกระหายและทะเยอทะยานเข้ามาพิชิตแดนนี้ และสุดท้ายอเล็กซานเดอร์มหาราช เจ้าผู้ปกครองแคว้นเล็กๆ ในกรีกอย่างมาซิโดเนีย คนที่บ้าบิ่นและชำนาญการรบกว่าใครในยุคนั้นเป็นคนพิชิตบาบิโลนลงได้ เหตุการณ์คล้ายกันนี้เกิดขึ้นกับอาณาจักรไบแซนไทน์ และผู้พิชิตคือ กษัตริย์ชาวเติกร์ ที่มีอายุเพียง 20

        การเดินทางของคนตัวเล็ก ๆ แบบผมคงไม่ได้ทำให้โลกหลังการเดินทางของผมเปลี่ยนแปลงสักเท่าไหร่นัก เมื่อเทียบกับคนตัวใหญ่ ๆ ที่เดินทางในนามสถาบันอันยิ่งใหญ่ในช่วงศตวรรษที่ 14 -17 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส รอนแรมล่องเรือเป็นเดือนเพื่อค้นหาทวีปใหม่ และสุดท้ายก็เจอทวีปอเมริกา และพบว่าที่นั่นมีความเจริญที่เทียบทานไม่ได้กับยุโรปซึ่งเป็นที่ที่เขาจากมา การเอาข่าวสารเรื่องดินแดนใหม่ที่กว้างใหญ่ไพศาลไปสู่ยุโรป นำมาซึ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ของคนยุโรปผิวขาว ต่อคนพื้นเมืองผิวแดง นำมาซึ่งความตายของคนนับล้านคน ตลอดช่วงเวลาร้อยปีแรกของการยึดครองทวีป นี้เป็นอีกข้อพิสูจน์หนึ่งว่าการเดินทางนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดสันติภาพเพียงอย่างเดียว

        ไม่ว่าจะเดินทางรูปแบบไหนก็ตาม จิตของผู้เดินทางที่ดีคือจิตที่มีสัมมาคารวะต่อความดี ต่อตัวเอง ต่อความเปลี่ยนแปลงของบริบทในทุกพื้น จิตของการไม่ฉวยโอกาสเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่เราพบเจอ เรามีโลกใบนี้ เพื่อให้เราเรียนรู้ซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของเพื่อนมนุษย์ที่เราไม่เคยพบเห็นพบเจอมาก่อน คือความเริงฤทัยของนักเดินทาง ขอให้ทุกคนสนุกกับการเดินทาง และนำสันติภาพกลับสู่ตัวเองกันนะครับ!!

 

 

บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือเรื่อง การเดินทางของสันติภาพที่หลากหลาย เป็นหนังสือที่ระลึกในงานเสวนา "กระเป๋าเป้และแว่นตา : การเดินทางของสันติภาพที่หลากหลาย" เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2560 ณ หอประชุม ม.อ.ปัตตานี ชูเกียรติ ปิติเจริญกิจ (หอประชุมสำนักงานอธิการบดี ม.อ.ปัตตานี) วิทยากรโดย วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล, ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ, ฮาดีย์ หะมิดง, ยาสมิน ซัตตาร์ และ อัยมี่ อัลอิดรุส ดำเนินรายการโดย อ.สุวรา แก้วนุ้ย โดยในหนังสือเล่มนี้มีผู้เขียนทั้งหมด 12 ท่าน 

 

ดาวน์โหลดหนังสือ

การเดินทางของสันติภาพที่หลากหลาย [หนังสือ]

 

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

การเดินทางของความประหลาดใจ โดย อับกอรี เปาะเดร์

ความเกลียดชังที่รวันดา โดย วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

การเดินทางและสันติภาพ โดย ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ

การเดินทางของสันติภาพที่หลากหลาย โดย อัยมี่ อัลอิดรุส

การเดินทาง ความหลากหลาย และความขัดแย้ง โดย ยาสมิน ซัตตาร์

การเดินทางของความรู้ต่อความรุนแรงทางชาติพันธุ์แบบสุดโต่งฯ โดย อาทิตย์ ทองอินทร์

เริ่มแรก โดย รอมฎอน ปันจอร์

เมื่อสันติภาพเดินทาง โดย ต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ

คัชการ์ ฉันมาช้าไป โดย อาฎิล ศิริพัธนะ

คำถามจากการเดินทาง โดย อิมรอน ซาเหาะ

การเดินทางของสันติภาพ: บทเรียนเมื่อได้ไปเยือนตวนแสลงและเจือกเอ็ก โดย สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์

นิราศ โดย รอฮีมะห์ เหะหมัด

การเดินทาง การถูกกักตัว กับการได้รับรู้ และการได้กลับบ้าน โดย ชานิตยา จีน่า ดานิชสกุล

เก็บตกจากเสวนา "กระเป๋าเป้และแว่นตา : การเดินทางของสันติภาพที่หลากหลาย" โดย ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ

เสียงจากเยาวชนผู้จัดงานเสวนากระเป๋าเป้และแว่นตาฯ โดย ริซกี มะสะนิง

"คำตอบเรื่อง ต้นทุนชีวิตที่ต่างกันและการเดินทาง" โดย อาฎิล ศิริพัธนะ

วงกลม 3 วง กับการเดินทางของผู้ชายที่ชื่อ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล โดย มุลยานา ดะอุแม

ชะโงกทัวร์ที่อาร์เมเนีย โดย ฮาดีย์ หะมิดง

โหดสัสรัสเซีย โดย ฮาดีย์ หะมิดง

โคลอมเบีย โดย ฮาดีย์ หะมิดง

ประมวลภาพงานเสวนา "กระเป๋าเป้และแว่นตา : การเดินทางของสันติภาพที่หลากหลาย" โดย อิมรอน ซาเหาะ

อาทิตย์นี้แล้วน่ะ “วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล” กับคนรุ่นใหม่ใฝ่สันติภาพ ในเวที‘กระเป๋าเป้และแว่นตาฯ’ที่ ม.อ.ปัตตานี โดย อิมรอน ซาเหาะ